วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประชาคมอาเซี่ยน




คำนำ

 อาเซียน (ASEAN) ได้ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2510 (ค.ศ. 1967) โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในห้าประเทศที่เป็นผู้ก่อตั้ง แต่ในระยะเวลาที่ผ่านมา 44 ปี พบว่าคนไทย ซึ่งมีความใกล้ชิดและควรที่จะต้องเรียนรู้เรื่องอาเซียนเป็นอย่างดี แต่ผลการสำรวจพบว่าคนไทยมีความรู้เรื่องอาเซียนน้อยมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการก่อตั้งอาเซียน ธงอาเซียน ความรู้เรื่องประเทศสมาชิกอื่นๆ ตลอดจนความรู้สึกของคนไทยที่รู้สึกว่าเป็นพลเมืองของอาเซียน และ คนไทยได้พัฒนาตนเอง ค่อนข้างช้าทุกๆด้าน ในการที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาด้านภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาทางการของอาเซียน

เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ครู บุคลากรทางการศึกษา พนักงาน และนักเรียน นักศึกษาของวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศเพชรบูรณ์ ได้ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับอาเซียนและเป็นการเตรียมพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) วิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศเพชรบูรณ์ จึงได้รวบรวมข้อมูลและความรู้ต่างๆ เกี่ยวกับอาเซียน จัดทำเป็นรูปเล่ม เรื่อง “เส้นทางสู่ความเป็นหนึ่งเดียวของอาเซียน” เพื่อเผยแพร่ให้กับบุคลากรของวิทยาลัยและผู้ที่มีความประสงค์จะศึกษาเกี่ยวกับอาเซียนได้ศึกษาหาความรู้เพื่อประโยชน์ของคนไทยโดยรวมที่ต้องเป็นพลเมืองอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 ได้ก้าวสู่ประชาคมอาเซียนได้อย่างภาคภูมิใจ

วิทยาลัยต้องขอขอบพระคุณ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิอีกหลายๆ ท่านที่ให้ความรู้ผ่านทางอินเตอร์เน็ต วารสาร หนังสือพิมพ์ และเอกสารต่างๆ ซึ่งความรู้ที่ได้รวบรวมในครั้งนี้จะนำไปเผยแพร่ เพื่อประโยชน์สำหรับเยาวชนและคนไทยในทุกระดับและทุกสาขาอาชีพขอขอบพระคุณ ดร.ศุภัค ธนเสน ผู้รับใบอนุญาต วิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศเพชรบูรณ์ที่กรุณาให้คำปรึกษาและสนับสนุนการจัดทำหนังสือเล่มนี้ และขอขอบคุณอาจารย์รุ่งนภา คำมี คุณชมพูนุช จันทร์ดา คุณประไพ กุมพล และคุณธีราภรณ์ ขุนมี ที่ได้ช่วยจัดทำให้เป็นรูปเล่มที่สมบูรณ์


(นายสุชนะ จิตบรรจง)

ผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคโนโลยีสารสนเทศเพชรบูรณ์


ประวัติความเป็นมาของอาเซี่ยน




ประวัติความเป็นมาของอาเซียน (ASEAN)

ความเป็นมา

อาเซียน (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN) ได้ถือกำเนิดครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2504 (ค.ศ.1961) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของสามประเทศทุนเสรีนิยมที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำค่ายทุนเสรีนิยม วัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีประเทศสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ ประเทศที่ได้รับรวมกลุ่มกันได้แก่ ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย เรียกชื่อกลุ่มว่าสมาคมอาสา หรือ Association of Southeast Asia สมาคมอาสาได้ดำเนินการเพียง 2 ปีก็ต้องสลายไป ทั้งนี้เพราะมีปัญหาระหว่างประเทศและภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิก
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ.1967) ประเทศต่าง ๆในภูมิภาค ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศสิงคโปร์ ได้เริ่มฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้นอีกครั้ง โดยหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เรียกว่า “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Association of Southeast Asian Nations” (ASEAN) โดยพันเอกพิเศษ ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศไทยในขณะนั้น ได้ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) กับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกทั้ง 5 ประเทศ ซึ่งถือว่า อาเซียน ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว
ในขณะที่อาเซียนได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการ ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ยังคงเป็นอาณานิคมของประเทศทางตะวันตกอยู่ จนกระทั่งปี พ.ศ.2518 (ค.ศ. 1975) ทั้งสามประเทศได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ประเทศลาวและประเทศเวียดนามปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ประเทศกัมพูชาก็ถูกเขมรแดงพยายามกดดันให้เปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ เช่นกัน ส่วนประเทศพม่าปกครองโดยระบบสังคมนิยม ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงมีปัญหาต่าง ๆมากมาย เช่น สงครามระหว่างเวียดนาม-กัมพูชา สงครามระหว่างสหรัฐอเมริกา-เวียดนาม ส่วนประเทศไทยก็อยู่ในสภาวะกวาดล้างผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ส่วนประเทศบรูไนดารุสซาลามซึ่งไม่ได้มีปัญหาทั้งภายในและภายนอกประเทศ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ.2527
(ค.ศ.1984) ซึ่งเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 และถือว่าเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียนดั้งเดิมที่พัฒนาแล้ว
ในปีพ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) ประเทศสหภาพโซเวียตล่มสลายความขัดแย้งระหว่างลัทธิทุนเสรีนิยม และลัทธิคอมมิวนิสต์หมดไป ประเทศเวียดนามจึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ.2538 (ค.ศ.1995) ประเทศลาวและประเทศพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ.2540 (ค.ศ.1997) และประเทศกัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ.2542 (ค.ศ.1999) ทำให้อาเซียนมีสมาชิกร่วมทั้งสิ้น 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์หลักของอาเซียน
ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริการ
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Study)
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขายสินค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคอาเซียน องค์การ- ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ
ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับของหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งไทยได้รับประโยชน์อย่างมากจากการ่วมมือต่าง ๆ ของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค มีเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้วคงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง
หลักการพื้นฐานความร่วมมืออาเซียน
ประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการที่จะปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ.2008) และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
1. การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
2. สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
3. หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน
4. ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
5. การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
6. ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
นอกจากหลักการข้างต้นแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบายมาโดยตลอดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใด ๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศจะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้น ๆ ก่อน การที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก “ฉันทามติ” และการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน หรือที่ผู้สังเกตการอาเซียนเรียกว่า “วิถีอาเซียน” (ASEAN’s Way) นั้นก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในเรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจมีความสะดวกใจ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกและดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีกทางหนึ่ง ฉันทามติและการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกันก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลายโอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวนการรวมตัวของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ของอาเซียนล้มเหลว ในการจัดการปัญหาของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้ อย่างไรก็ดี การยึดหลักฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจของอาเซียน ได้เริ่มมีความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551 (ค.ศ.2008) เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำประทศสมาชิกอาเซียน พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้
โครงสร้างของอาเซียนประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้
1. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ซึ่งได้จัดขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2519 (ค.ศ.1976) เพื่อทำการประสานงานและดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียนและเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีหัวหน้าสำนักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ปัจจุบัน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นเลขาธิการตั้งแต่ พ.ศ.2551 (ค.ศ.2008)
2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติหรือกรมอาเซียน (Asean National Secretariat) เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลการดำเนินกิจกรรม ความร่วมมือต่าง ๆ
?

สัญลักษณ์อาเซียน










                                               “ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกันไว้”
หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อเป็นมิตรภาพ และความเป็นหนึ่งเดียวโดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของ ASEAN เป็นสีที่สำคัญของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สัมติภาพภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง










บทที่2

กฎบัตรอาเซียน(ASEAN Charter)
กฎบัตรอาเซียนเป็นร่างสนธิที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ความเป็นมา

อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยตราสารที่เรียกว่า ปฏิญญาอาเซียน หรือที่รู้จักในชื่อปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) โดยหากพิจารณาจากเนื้อหาของตราสารและสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในช่วง พ.ศ.2510 (ค.ศ.1967) พิจารณาได้ว่าอาเซียนจำต้องอาศัยรูปแบบความร่วมมือเชิงมิตรภาพในภูมิภาคและเลี่ยงการกำหนดสิทธิหน้าที่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้นำในภูมิภาคได้อาศัยอาเซียนเป็นเวทีดำเนินความร่วมมือบนพื้นฐานของความยินยอมและความสมัครใจของสมาชิกเป็นหลักการดำเนินการอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือการอาศัยฉันทามติ โดยเลี่ยงการอ้างสิทธิหน้าที่และการแทรกแซงทางการเมืองระหว่างสมาชิก (non intervention) ซึ่งแนวปฏิบัตินี้เรียกว่า “The ASEAN Way” ได้ช่วยให้ความร่วมมือดำเนินมาได้โดยปราศจากความขัดแย้งรุนแรง แม้ว่าสมาชิกแต่ละประเทศจะมีระบบกฎหมายและนโยบายทางการเมืองที่แตกต่างกัน ดังนั้น เมื่ออาเซียนได้มุ่งที่จะนำกฎหมายระหว่างประเทศมาเป็นฐานในการดำเนินการ จึงมิได้มีการจัดทำสนธิสัญญาหรือกฎบัตรอาเซียนมาตั้งแต่ต้น
ความสำคัญของอาเซียน
แม้อาเซียนจะมิได้มีสนธิสัญญาหรือกฎบัตรมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาเซียนก็ได้พัฒนาความร่วมมือโดยอาศัยฐานในทางกฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น การที่สมาชิกอาเซียนได้จัดทำสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia 1976 หรือ TAC) ซึ่งก็เป็นการเน้นย้ำหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิมแล้วเน้นย้ำระหว่างรัฐในภูมิภาค เช่น หลักการเคารพอำนาจอธิปไตยของรัฐ หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของแต่ละรัฐซึ่งปรากฏอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติอยู่แล้ว เป็นต้น และอาเซียนก็ได้อาศัยหลักในสนธิสัญญาดังกล่าวมาเป็นหลักการที่อาเซียนยึดถือ และเป็นข้อแม้ในการต่อรองกับรัฐที่ไม่ใช่สมาชิกให้ลงนามเป็นภาคีก่อนจะได้รับให้เข้าร่วมประชุมกับอาเซียนนั่นเอง ข้อพิจารณาสำคัญคือสนธิสัญญาดังกล่าวมิได้เกี่ยวข้องหรือทำขึ้นกับอาเซียนโดยตรง และอาเซียนก็มิได้มีความสามารถในการทำสนธิสัญญาโดยตนเอง เพียงแต่รัฐที่อยู่ในบริเวณเอเชียอาคเนย์ได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าวเพื่อประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาคและอาศัยอาเซียนเป็นเครื่องมือในการดำเนินความร่วมมือ และพันธกรณีหรือหน้าที่ตามสนธิสัญญานั้นย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียนโดยปริยาย นอกจากนี้อาเซียนยังได้เป็นเวทีที่ทำให้เกิดสนธิสัญญาในเรื่องอื่น ๆ เช่น การทำให้ภูมิภาคปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์หรือล่าสุดในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ตลอดจนความตกลงเรื่องเศรษฐกิจและความร่วมมือเฉพาะด้าน เช่น ด้านการส่งเสริมสวัสดิการสังคม การศึกษา การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ สิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ ฯลฯ ซึ่งล้วนอาศัยอาเซียนเป็นกลไกสำคัญทั้งสิ้น ดังนั้นแม้ในทางรูปแบบแล้วจะไม่ถือว่าอาเซียนได้ตั้งอยู่บนฐานกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ในทางเนื้อหากฎหมายระหว่างประเทศและความตกลงเหล่านี้ก็จะได้มีอิทธิพลต่อการดำเนินการของอาเซียนในช่วงเวลาที่ผ่านมา
กระบวนการจัดทำ
เมื่อเดือนธันวาคม 2540 (ค.ศ.1997) ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมประกาศ “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยกำหนดเป้าหมายว่าภายในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) อาเซียนจะมีรูปแบบความร่วมมือที่พัฒนาใกล้ชิดมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ต่อมาในการประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 9 ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2546 (ค.ศ.2003) ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II ) เพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) โดยจะประกอบด้วย 3 เสาหลัก (pillars) ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community-ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม – วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2547 (ค.ศ.2004) ได้มีการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 10 ณ กรุงเวียงจันทร์ และบรรดาผู้นำอาเซียนได้ประกาศแผนปฏิบัติการเวียงจันทร์ (Vientiane Action Programme) ซึ่งได้สนับสนุนการจัดทำกฎบัตรอาเซียนเพื่อรับรองการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) และในเดือนธันวาคม พ.ศ.2548 (ค.ศ.2005) ได้มีการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 11 ณ เกาะบาหลี โดยบรรดาผู้นำได้ร่วมกันประกาศ หลักการสำคัญในการจัดทำกฎบัตรอาเซียนและได้มอบหมายให้ “คณะผู้ทรงคุณวุฒิ” (Eminent Persons Group) ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการต่างประเทศจากประเทศสมาชิก เป็นผู้จัดทำข้อเสนอแนะเบื้องต้นและลักษณะทั่วไปของกฎบัตรอาเซียน ซึ่งคณะผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้ประชุมหารือร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ จนสามารถสรุปข้อเสนอแนะเบื้องต้นในการจัดทำกฎบัตรในรูปแบบรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตรอาเซียน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 (ค.ศ.2006) ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั่งที่ 12 ณ เมืองเซบู บรรดาผู้นำได้ร่วมกันประกาศรับรองรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียนและได้มอบหมายให้คณะทำงานระดับสูง หรือ High Level Task Force ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีความเชี่ยวชาญจากแต่ละประเทศสมาชิกเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนและเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้โดยอาศัยหลักการที่บรรดาผู้นำได้ร่วมกันประกาศไว้ ณ เกาะบาหลี และเมืองเซบู รวมถึงพิจารณาข้อเสนอแนะจากรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จ เพื่อสามารถนำร่างกฎบัตรไปพิจารณาในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่ประเทศสิงคโปร์ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ต่อไป จากนั้นก็จะได้มีการตรวจสอบ รับฟังความคิดเห็นก่อนผู้นำจะลงนาม
การประกาศใช้
วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ.2008) ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนิเชีย ได้ประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้การดำเนินงานของอาเซียน เป็นไปภายใต้กฎหมายเดียวกันและเป็นลู่ทางไปสู่การสร้างตลาดเดียวในภูมิภาคภายใน 7 ปี
โครงสร้างของกฎบัตรอาเซียน
โครงสร้างของกฎบัตรนี้ประกอบไปด้วยอารัมภบทและข้อบังคับ 55 ข้อใน 13 หมวด
หมวดที่ 1 วัตถุประสงค์และหลักการ – กล่าวถึงวัตถุประสงค์และหลักการ
หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฎหมาย – ระบุถึงฐานะทางกฎหมาย
หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ – อธิบายสมาชิก การรับสมาชิกใหม่
หมวดที่ 4 องค์กร – กล่าวถึงองค์กรและการทำงานประกอบด้วย ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน คณะมนตรีประสานงาน คณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่าง ๆ องค์กรรัฐมนตรีเฉพาะสาขา คณะกรรมการถาวรประจำอาเซียน เลขาธิการและสำนักเลขาธิการ องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน
หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
หมวดที่ 6 ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ – เอกสิทธิ์ทางการทูตของอาเซียน
หมวดที่ 7 การตัดสินใจ – กล่าวถึงเกณฑ์การตัดสินใจที่อยู่บนหลักการปรึกษาหารือและฉันทามติ
หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท – กล่าวถึงวิธีการระงับข้อพิพาทและคนกลาง โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นช่องทางสุดท้าย
หมวดที่ 9 งบประมาณและงบการเงิน – กล่าวถึงการจัดทำงบประมาณของสำนักเลขาธิการ
หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน – กล่าวถึงประธานอาเซียน พิธีการทางการทูต ภาษาทำงาน
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ – กล่าวถึงคำขวัญ ธง ดวงตรา วันและเพลงอาเซียน
หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์ภายนอก – กล่าวถึงแนวทางขั้นตอนการเจราจาของอาเซียนกับคู่เจรจา
หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย – กล่าวถึงการบังคับใช้
ภาคผนวก 1 – กล่าวถึงองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา ภาคผนวก 2 – กล่าวถึงองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน คือ รัฐสภา องค์กรภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคม ภาคผนวก 3 – อธิบายรายละเอียดธงอาเซียน ภาคผนวก 4 – อธิบายรายละเอียดดวงตราอาเซียน
สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน
วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียนเป็นการประมวลบรรทัดฐาน (Norm) และค่านิยม (Value) ของอาเซียนที่สรุปได้ดังนี้ ภาพรวมของประชาคมอาเซียน การรักษาและเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ การเพิ่มความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ด้านเศรษฐกิจ สร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวและความสามารถในการแข่งขันสูง การรวมตัวทางเศรษฐกิจที่มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้า/บริการ การลงทุนและแรงงาน การเคลื่อนย้ายทุนเสรียิ่งขึ้น
ด้านความมั่นคงของมนุษย์ บรรเทาความยากจน และลดช่องว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านความร่วมมือด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีพ
ด้านสังคม ส่งเสริมอาเซียนที่มีประชากรเป็นศูนย์กลาง สร้างสังคมที่ปลอดภัยมั่นคงจากยาเสพติดเพิ่มพูนความกินดีอยู่ดีของประชาชนอาเซียน ให้โอกาสที่ทัดเทียมกันในการเข้าถึงการพัฒนามนุษย์ สวัสดิการ และความยุติธรรม
ด้านสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่คุ้มครองสภาพแวดล้อม ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
ด้านวัฒนธรรม ส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียนโดยเคารพความหลากหลายและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
ด้านการเมืองความมั่นคง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เสริมสร้างประชาธิปไตยเพิ่มพูนธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม ตอบสนองต่อสิ่งท้าทายความมั่นคง เช่น การก่อการร้าย
หลักการของกฎบัตรนี้ อยู่บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี สิ่งที่เน้นหนักคือ การรวมศูนย์กับความสัมพันธ์กับภายนอก จึงทำให้กฎบัตรนี้ เป็นสาเหตุหลักของการสร้างประชาคมอาเซียนและตอกย้ำถึงข้อผูกมัดทางกฎหมายของข้อตกลงอาเซียนต่าง ๆ
กลไกของอาเซียน ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายของอาเซียน โดยมีการประชุมสุดยอดปีละ 2 ครั้ง มีคณะมนตรีประสานงานอาเซียนที่มาจากรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นผู้บริหารงานทั่วไป และคณะมนตรีประชาคมอาเซียนดำเนินการตามพันธะกรณีในแต่ละสาขา เลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำหรับการติดตามความคืบหน้าในกิจการต่าง ๆ ของอาเซียน รวมทั้งมีคณะผู้แทนหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำหรับการติดตามความคืบหน้าในกิจการต่าง ๆ ของอาเซียน รวมทั้งมีคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียนเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
การบริหารงาน ประธานอาเซียนดำรงตำแหน่งวาระ 1 ปี และประเทศที่เป็นประธานอาเซียนจะรับตำแหน่งประธานของกลไกของ อาเซียนทุกตำแหน่ง อาทิ ที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน มนตรีประสานงานอาเซียน มนตรีประชาคมอาเซียนคณะต่าง ๆ ประธานผู้แทนถาวรประจำอาเซียน
จากการกำหนดให้มีการประชุมสุดยอดปีละ 2 ครั้งแสดงว่า อาเซียนกำลังปรับให้ที่ประชุมสุดยอดให้มีบทบาทเชิงบริหารอย่างใกล้ชิดกับการปฏิบัติงานมากขึ้น แทนที่จะให้ที่ประชุมสุดยอดเป็นเพียงพิธีกรรมทางการทูต ร่วมทั้งการบริหารงานที่ทำให้มีความสอดคล้องกับประธานอาเซียนย่อมแสดงถึงความพยายามเพิ่มสมรรถนะขององค์กร ในด้านประสิทธิผลของคณะทำงานด้านต่าง ๆ
ข้อบังคับที่น่าสนใจคือ การให้มีองค์กรสิทธิมนุษย์ชนอาเซียน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่างข้อบังคับโดยคณะทำงานระดับสูง ส่วนของคณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนในประเทศสมาชิก สามารถคาดหวังได้ว่าจะใช้องค์กรนี้ในฐานะเวทีของการเรียกร้องสิทธิและสร้างพื้นที่ต่อการรับรู้จากสาธารณะ
บทที่ 3
ข้อมูลพื้นฐานของประเทศสมาชิก ASEAN, ASEAN + 3 และ ASEAN + 6
ประเทศ ASEAN มี 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มก่อตั้ง SAEAN และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว บรูไนเป็นปะเทศสมาชิกสมทบในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วน 4 ประเทศสมาชิกที่เข้าสมาคมใหม่ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม (CLMV)
สำหรับประเทศคู่เจรจาที่สำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ( SAEAN + 3) อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ASEAN + 6) ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกและ 6 ประเทศคู่เจรจา มีความแตกต่างและความหลากหลายในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ภูมิอากาศ จำนวนประชากร เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม และภาษาพูด ตลอดจนความแตกต่างในด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการเงิน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานของแต่ละประเทศสมาชิกและประเทศคู่เจรจาเพื่อเป็นแนวทางสู่การเป็นประชาคมอาเซียนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ประเทศบูรไน ดารุสาลาม
(Brunei Darussalam)
  
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน ภูมิอากาศ อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก อุณหภูมิ เฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส เมืองหลวง กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) เวลา GMT +8 เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง ประชากร 408,146 คน อัตราการเพิ่มของประชากร 1.9 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ มาเลย์ 67 เปอร์เซ็นต์ จีน 15 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ 12 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา ศาสนาอิสลาม 67 เปอร์เซ็นต์ ศาสนาพุทธ 13 เปอร์เซ็นต์ ศาสนาคริสต์ 10 เปอร์เซ็นต์และอื่น ๆ อีก 10 เปอร์เซ็นต์ ภาษา ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการรองลงมาเป็นภาษาอังกฤษแลภาษาจีน
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 12,953 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคการเกษตรกรรม 0.9 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 71.6 เปอร์เซ็นต์ และภาคบริการ 27.5 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 31,736 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเจริญเติบโต 0.4 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 8,754 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียมกลั่น และเสื้อผ้า แหล่งส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น (36.8 เปอร์เซ็นต์) อินโดนีเชีย (19.3 เปอร์เซ็นต์) เกาหลีใต้ (12.7 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา ( 9.5 เปอร์เซ็นต์) และออสเตรเลีย (9.3 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 3,106 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง อาหาร และเคมีภัณฑ์ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ สิงคโปร์ ( 32.7 เปอร์เซ็นต์) มาเลเซีย (23.3 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (6.9 เปอร์เซ็นต์) สหราชอาณาจักร (5.3 เปอร์เซ็นต์) ไทย (4.5 เปอร์เซ็นต์) และเกาหลีใต้ (4.0 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไน (Bruneian Dollar หรือ BND) อัตราแลกเปลี่ยน 1.93 ดอลลาร์บรูไน/1 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 22.98 บาท/1 ดอลลาร์บรูไน


ราชอาณาจักรกัมพูชา
(Kingdom of Cambodia)
 
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร (พื้นดิน 176,525 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 4,520 ตารางกิโลเมตร) หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทยกว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร ภูมิอากาศ ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20-36 องศาเซลเซียส เมืองหลวง กรุงพนมเปญ ( Phnom Penh) มีประชากรประมาณ 1,000,000 คน เป็นแหล่งการค้า การลงทุนที่สำคัญ เมืองสำคัญ กำปงจาม เป็นเมืองท่าการค้า มีประชากรประมาณ 1,513,500 คน เสียมราฐ เป็นศูนย์ของการท่องเที่ยวและธุรกิจโรงแรมเนื่องจากเป็นที่ตั้งของนครวัด นครธม ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก พระตะบองเป็นเมืองกระจายสินค้า เกาะกง เป็นที่ตั้งของท่าเรือจามเยี่ยม ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ สีหนุวิลล์ (กำปงโสม) เป็นเมืองท่าการค้าและการท่องเที่ยว เวลา GMT +7 เท่ากับประเทศไทย ประชากร 14,805,000 คน ประชากรร้อยละ 80 อาศัยอยู่ในชนบท มีอัตราเพิ่มของประชากร 1.7 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ กัมพูชา 90 เปอร์เซ็นต์ เวียดนาม 5 เปอร์เซ็นต์ จีน 1 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ 4 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา พุทธศาสนานิกายเถรวาท 95 เปอร์เซ็นต์ (มี 2 นิกายย่อย ได้แก่ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย โดยมีสมเด็จสังฆราช 2 องค์) ศาสนาเขมรจาม ซึ่งมีประมาณ 200,000 คน และศาสนาคริสต์ ภาษา ภาษาเขมร ส่วนภาษาที่ใช้งานทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 12,932 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคเกษตรกรรม 33.7 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 27.1 เปอร์เซ็นต์ และภาคบริการ 39.1 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 873 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเจริญเติบโต 6.0 เปอร์เซ็นต์ 3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา ไทย จีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ มูลค่าการส่งออก 4,249 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องนุ่งห่ม ไม้ซุง ยางพารา ข้าว ปลา ใบยาสูบ รองเท้า แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา (53.3 เปอร์เซ็นต์) ฮ่องกง (15.2 เปอร์เซ็นต์) เยอรมนี (6.6 เปอร์เซ็นต์) และสหราชอาณาจักร (4.3 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 4,476 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยาสูบ ทองคำ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะและเภสัชภัณฑ์ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ฮ่องกง (18.1 เปอร์เซ็นต์) จีน (17.5 เปอร์เซ็นต์) ไทย (13.93 เปอร์เซ็นต์) ไต้หวัน (12.7 เปอร์เซ็นต์) และเวียดนาม ( 9.0 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน เรียล (Riel หรือ KHR) อัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยน 4,121 เรียล /1 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 118.4 เรียล /1บาท


สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
( Republic of the Indonesia)





1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร (พื้นดิน 1,826,440 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 93,000 ตารางกิโลเมตร) ภูมิอากาศ เขตร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร มี 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พ.ค. – ต.ค.) และฤดูฝน (พ.ย. – เม.ย.) เมืองหลวง จาการ์ตา (Jakarta) เมืองสำคัญ สุราบายา บันดุง เมดาน และบาหลี เวลา GMT +7 เท่ากับประเทศไทย ประชากร 231,369,500 คน โดย 61 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่บนเกาะชวา มีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร 1.41 เปอร์เซ็นต์ เชื้อชาติ จาวา 40.6 เปอร์เซ็นต์ ซุนดา 15 เปอร์เซ็นต์ มาดู 3.3 เปอร์เซ็นต์ มาเลย์ 7.5 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ 33.6 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา อิสลาม 87 เปอร์เซ็นต์ คริสต์โปรเตสแตนต์ 6 เปอร์เซ็นต์ นิกายคาทอลิก 3.5 เปอร์เซ็นต์ ฮินดู 1.8 เปอร์เซ็นต์ และพุทธ 1.3 เปอร์เซ็นต์ ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ (ดัดแปลงมาจากภาษามาเลย์) อังกฤษ ดัตช์และภาษาพื้นเมืองกว่า 583 ภาษา (ส่วนใหญ่พูดภาษา จาวา)
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 776,976 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 3,372 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเจริญเติบโต 6.1 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 137,020 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ น้ำมันและก๊าซ เครื่องใช้ไฟฟ้า ไม้อัด เสื้อผ้าสำเร็จรูป และยางพารา แหล่งส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น (21.6 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา (11.2 เปอร์เซ็นต์) สิงคโปร์ (8.9 เปอร์เซ็นต์) จีน (8.3 เปอร์เซ็นต์) และเกาหลีใต้ (7.6 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 129,197 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร และอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ น้ำมันและก๊าซ และอาหาร แหล่งนำเข้าที่สำคัญ สิงคโปร์ (16.4 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (9 เปอร์เซ็นต์) จีน (10.9 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา (6.7 เปอร์เซ็นต์) เกาหลีใต้ (7.6 เปอร์เซ็นต์) และไทย (6 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน รูเปียห์ (Indonesian Rupiah: IDR) อัตราแลกเปลี่ยน 10,950 รูเปียห์/1 เหรียญสหรัฐฯ



                                      สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว( สปป.ลาว )
                                 (The Lao People’s Democratic Republic of Lao : PDR)





1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย ภูมิอากาศ แบบเขตร้อนมีฝนตกชุกระหว่าง พ.ค. - ก.ย.อุณภูมิเฉลี่ยที่นครหลวง เวียงจันทร์ 25 องศาเซลเซียส (ม.ค.) และ 36 - 37 องศาเซลเซียส (เม.ย.) ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,715 มิลลิเมตรต่อปี เมืองหลวง นครเวียงจันทน์ อยู่ตรงข้ามจังหวัดหนองคาย มีประชากร 606,000 คน เมืองสำคัญ แขวงสะหวันนะเขต ประชากรมากที่สุดในประเทศ 690,000 คนอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหาร แขวงจำปาสัก มีประชากรมากเป็นอันดับสาม 500,000 คน มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี แขวงคำม่วน มีประชากร 280,000 คน มีป่าไม้และแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดนครพนม เวลา GMT+7 เท่ากับประเทศไทย ประชากร 6,835,345 คน อัตราเพิ่มของประชากร 2.4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ ลาวลุ่ม 68 เปอร์เซ็นต์ ลาวเทิง 22 เปอร์เซ็นต์ ลาวสูง 9 เปอร์เซ็นต์และอื่น ๆ รวมประมาณ 68 ชนเผ่า ศาสนา พุทธ 75 เปอร์เซ็นต์ นับถือผี 16 - 17 เปอร์เซ็นต์ คริสต์ประมาณ 100,000 คน อิสลามประมาณ 300 คน ภาษา ภาษาราชการ คือ ภาษาลาว ภาษาที่ใช้ในการติดต่อธุรกิจ ได้แก่ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 6,946 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคเกษตรกรรม 49 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 26 เปอร์เซ็นต์ และภาคบริการ 25 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 1,016 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเจริญเติบโต 8.4 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 828 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องนุ่งห่ม ไม้และผลิตภัณฑ์ กาแฟ กระแสไฟฟ้า ดีบุก แหล่งส่งออกที่สำคัญ ไทย (41.0 เปอร์เซ็นต์) เวียดนาม (9.7 เปอร์เซ็นต์) จีน (4.1 เปอร์เซ็นต์)และมาเลเซีย (4.0 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 1,803 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร ยานพาหนะ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สินค้าอุปโภคบริโภค แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ไทย (69.0 เปอร์เซ็นต์) เวียดนาม (5.6 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน กีบ ( Kip หรือ LAK) อัตราแลกเปลี่ยน 8,531 กีบ/1 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 280 กีบ/1 บาท





ประเทศมาเลเซีย
Malaysia)





1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 330,257 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ เป็นเขตร้อนชื้น มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในเดือน เม.ย.– ต.ค. และตะวันออกเฉียงเหนือเดือน ต.ค. – ก.พ. อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส เมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เมืองสำคัญ เมืองปุตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองราชการ เวลา GMT+8 เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง ประชากร 27,468,000 คน อัตราเพิ่มของประชากร 1.76 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ มาเลย์ 50.4 เปอร์เซ็นต์ จีน 23 เปอร์เซ็นต์ ชาวพื้นเมือง 11 เปอร์เซ็นต์ อินเดีย 7.1 เปอร์เซ็นต์และอื่น ๆ 7.8 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา อิสลาม 60.4 เปอร์เซ็นต์ พุทธ 19.25 เปอร์เซ็นต์ คริสต์ 11.6 เปอร์เซ็นต์ ฮินดู 6.3 เปอร์เซ็นต์และอื่น ๆ 2.5 เปอร์เซ็นต์ ภาษา ภาษา Bahasa Malayu เป็นภาษาราช ภาษาอังกฤษ และจีน (สำเนียง Cantonese Mandarin Hokkien Hakka Hainan Foochow) Telugu Malayalam Panjabi และไทย ส่วนภาคตะวันออกของประเทศ ใช้ภาษาท้องถิ่นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่พูดภาษา Iban และ Kadaz
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 236,555 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคการเกษตรกรรม 8.4 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 48 เปอร์เซ็นต์ และภาคบริการ 43.6 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 8,618 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเจริญเติบโต 4.6 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 194,496 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติเหลว ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ น้ำมันปาล์ม ยางพารา สิ่งทอและผลิตภัณฑ์เคมี แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา (15.6 เปอร์เซ็นต์) สิงคโปร์ (14.6 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (9.1 เปอร์เซ็นต์) จีน (8.8 เปอร์เซ็นต์) และไทย (5.0 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 144,299 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า พลาสติก เคมีภัณฑ์ และยานพาหนะ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น (13.0 เปอร์เซ็นต์) จีน (12.9 เปอร์เซ็นต์) สิงคโปร์ (11.5 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา (10.9 เปอร์เซ็นต์) และไทย (5.4 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน ริงกิต (Ringgits หรือ MYR) อัตราแลกเปลี่ยน 3.55 ริงกิต / 1 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 10.65 บาท /1 ริงกิต





สหภาพพม่า


( Union of Myanmar)



สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
The Republic of the Philippines)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 298,170 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ 7,107 เกาะ เกาะสำคัญได้แก่ เกาะลูซอน (Luzon) หมู่เกาะวิสซายา (Visayas) และเกาะมินดาเนา (Mindanao) ภูมิอากาศ มรสุมเขตร้อนได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู ช่วงระหว่าง พ.ย.-เม.ย. มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนพ.ค.-ต.ค.มีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่นและดีเปรสชั่น บริเวณที่มีฝนตกมากที่สุดคือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เมืองหลวง กรุงมะนิลา (Metro Manila) เมืองสำคัญ เมืองเซบู ดาเวา บาเกียว เวลา GMT+8 (เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง) ประชากร 92,222,660 คน (ปี2551) อัตราการเพิ่มของประชากร 1.8 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ ตากาล็อก 28.1 เปอร์เซ็นต์ Cebuano 13.1 เปอร์เซ็นต์ Ilocano 9 เปอร์เซ็นต์ Bisaya/ Binisaya 7.6 เปอร์เซ็นต์ Hiligaynon Ilonggo 7.5 เปอร์เซ็นต์ Bikol 6 เปอร์เซ็นต์ Waray 3.4 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ 25.3 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อันดับที่ 4 ของโลก ศาสนาอิสลามอันดับที่ 40 ของโลก ศาสนาฮินดูอันดับที่ 7 ของโลก และพระพุทธศาสนาอันดับที่ 17 ของโลก 92 เปอร์เซ็นต์ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์โดย 83 เปอร์เซ็นต์นับถือนิกายคาทอลิกและ 9 เปอร์เซ็นต์เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ ภาษา ภาษาราชการ คือ ภาษาอังกฤษและภาษาตากาล็อก (ภาษาฟิลิปิโน) มีการใช้ภาษามากว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบจะทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโยโปลิเวียนตะวันตก ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ สเปน จีน ฮกเกี้ยน จีนแต้จิ๋ว อินโดนิเซีย ซินด์ ปัญจาบ เกาหลีและอาหรับ
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 212,657 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคบริการ 48.4 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 32.8 เปอร์เซ็นต์ และภาคเกษตรกรรม 18.8 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 2,306 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต 3.6 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 49,025 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล เสื้อผ้าสำเร็จรูป แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา (17.1 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (12 เปอร์เซ็นต์) ฮ่องกง (11.6เปอร์เซ็นต์) จีน (11.4 เปอร์เซ็นต์) และเนเธอร์แลนด์ มูลค่าการนำเข้า 56,646 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล เหล็ก ยานพาหนะ และพลาสติก แหล่งนำเข้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา (14.4 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (12 เปอร์เซ็นต์) สิงคโปร์ (11.5 เปอร์เซ็นต์) ไต้หวัน (7.4 เปอร์เซ็นต์) จีน (7.3 เปอร์เซ็นต์) และซาอุดิอาระเบีย (6.7 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน ฟิลิปปินส์ เปโซ (Philippine peso) อัตราแลกเปลี่ยน 48.09 เปโซ/1 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 1.5 เปโซ/1 บาท
สาธารณรัฐสิงคโปร์
(The Republic of the Singapore)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 699 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ อากาศร้อนชื้น และฝนตกตลอดทั้งปี เมืองหลวง สิงคโปร์ เวลา GMT +8 (เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง) ประชากร 5,076,700 คน อัตราการเพิ่มประชากร 3.3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ จีน 76 เปอร์เซ็นต์ มาเลย์ 14 เปอร์เซ็นต์ อินเดีย 8.3 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ 1.7 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา พุทธ 42.5 เปอร์เซ็นต์ อิสลาม 14.9 เปอร์เซ็นต์ คริสต์ 14.54 เปอร์เซ็นต์ และฮินดู 4 เปอร์เซ็นต์ ภาษา ภาษาประจำชาติคือ ภาษามาเลย์ ภาษาที่ใช้เป็นทางการ คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาราชการมี 4 ภาษา คือ ภาษามาเลย์ จีนกลาง ทมิฬ และอังกฤษ
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 233,166 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 45,928 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต 1.1 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 241,405 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และเสื้อผ้า แหล่งส่งออกที่สำคัญ มาเลเซีย (12.9 เปอร์เซ็นต์) ฮ่องกง (10.5 เปอร์เซ็นต์) อินโดนิเซีย (9.8 เปอร์เซ็นต์) จีน (9.7 เปอร์เซ็นต์) และสหรัฐอเมริกา (10.0 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 230,760 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์และเสื้อผ้า แหล่งนำเข้าที่สำคัญ มาเลเซีย (13.1 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา (12.3 เปอร์เซ็นต์) จีน (12.1 เปอร์เซ็นต์) และญี่ปุ่น (8.2 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน สิงคโปร์ดอลลาร์ (SGD) อัตราแลกเปลี่ยน 1.44 เหรียญสิงคโปร์/1 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 21.9 บาท/1 เหรียญสิงคโปร์
ราชอาณาจักรไทย
Kingdom of Thailand<)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 513,254 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ เป็นเขตร้อนชื้นมี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ ก.พ.–เม.ย.ฤดูฝนในช่วงเดือน พ.ค.–ต.ค. ฤดูหนาวจะเริ่มต้นเดือน พ.ย.- ม.ค. พื้นที่ทั้งหมดอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากแถบมหาสมุทรอินเดียในฤดูฝนและมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือจากทะเลจีนใต้ในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร (Bangkok) เวลา GMT + 7 ประชากร 67,354,820 คน อัตราการเพิ่มประชากร 0.82 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ ไทย 75 เปอร์เซ็นต์ จีน 14 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ 11 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา พุทธ 94.6 เปอร์เซ็นต์ อิสลาม 4.6 เปอร์เซ็นต์ คริสต์ 0.7 เปอร์เซ็นต์และอื่น ๆ 0.1 เปอร์เซ็นต์ ภาษา ไทย อังกฤษ และภาษาท้องถิ่น
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 334,026 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคเกษตรกรรม 10.7 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 44.6 เปอร์เซ็นต์และภาคบริการ 44.7 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 4,959 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต 2.6 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 174,967 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ยางพารา แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา (13.2 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (12.7 เปอร์เซ็นต์) จีน (8.9 เปอร์เซ็นต์) และฮ่องกง (4.7 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 177,568 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น (20.7 เปอร์เซ็นต์) จีน (11.5 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา (7.0 เปอร์เซ็นต์) มาเลเซีย (6.3 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (4.4 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน บาท (Baht หรือ THB) อัตราการแลกเปลี่ยน 33.36 บาท/1 เหรียญสหรัฐฯ
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
(The Socialist Republic of Vietnam)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 0.645 เท่าของประเทศไทย ภูมิอากาศ มีความแตกต่างตามลักษณะทางพื้นที่ภูมิศาสตร์ของเวียดนาม คือ ภาคเหนือ มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น แบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ขณะที่ภาคกลางและภาคใต้มีสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนตลอดทั้งปี ซึ่งมีเพียง 2 ฤดูได้แก่ ฤดูฝนและฤดูแล้ง เมืองหลวง กรุงฮานอย (Hanoi) เมืองสำคัญ เมืองไฮฟอง เป็นเมืองท่าที่สำคัญ และเขตอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมต่อเรือเคมีภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง เมืองกว่างนินห์ เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และเป็นแหล่งถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เมืองเว้ เป็นเมืองประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เมืองกว่างนัม – ดานัง เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการค้า และเมืองท่าสำคัญ นครโอจิมินห์ เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการค้า และเมืองท่าสำคัญ เมืองด่องไน เป็นเมืองที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมมากที่สุดของประเทศและเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบเกษตรเพื่อป้อนอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ยางพารา ถั่วเหลือง กาแฟ ข้าวโพด อ้อย และยาสูบ เมืองเกิ่นเธอ เป็นเมืองอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและแหล่งเพาะปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เมืองเตี่ยงยาง เป็นแหล่งผลิตข้าวและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ทุเรียน มะม่วงและผลไม้เมืองร้อน เมืองบาเรีย – วุ่นเต่า เป็นเมืองที่มีการผลิตน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติรวมทั้งเป็นเมืองตากอากาศชายทะเลที่สำคัญของเวียดนาม เวลา GMT +7 เท่ากับประเทศไทย ประชากร 90,549,390 คน อัตราเพิ่มประชากร 1.0 เปอร์เซ็นต์ เชื้อชาติ เวียดนาม 85 - 90 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นจีน ไทย เขมร ชาวเขาเผาต่าง ๆ ศาสนา 70 เปอร์เซ็นต์นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งส่วนใหญ่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ศาสนาอิสลาม และความเชื่อที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ภาษา ภาษาราชการคือ ภาษาเวียดนาม ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ คือ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 113,627 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคการเกษตร 19.4 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 42.3 เปอร์เซ็นต์และภาคบริการ 38.3 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 1,255 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต 6.3 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 61,778 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกสำคัญ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ประมง ข้าว กาแฟ ยางพารา ชา เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้า แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา (21.1 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (12.3เปอร์เซ็นต์) ออสเตรเลีย (9.4 เปอร์เซ็นต์) จีน (5.7 เปอร์เซ็นต์) และเยอรมนี (5.2 เปอร์เซ็นต์) มูลคาการนำเข้า 79,579 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์เหล็ก ฝ้าย เมล็ดธัญพืช ปูนซีเมนต์ จักรยานยนต์ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ จีน (17.7 เปอร์เซ็นต์) สิงคโปร์ (12.9 เปอร์เซ็นต์) ไต้หวัน (11.5 เปอร์เซ็นต์) และญี่ปุ่น (9.8 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน ดอง (Dong หรือ VND) อัตราแลกเปลี่ยน 16,977 ดอง/1 เหรียญสหรัฐฯ 467.2 ดอง/1 บาท
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
( Peoples Republic of China - PRC)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 9,596,960 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ อยู่ในเขตอบอุ่น มีฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว เมืองหลวง กรุงปักกิ่ง (Peking) ประชากร 1,346.8 ล้านคน เชื้อชาติ ฮั่น 93.3 % ศาสนา ลัทธิขงจื้อ พุทธ เต๋า อิสลาม คริสต์ ภาษา ภาษาราชการคือภาษาจีนกลาง
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 6,422,267 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 4,768 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต 11.4 %
3. การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออก 438,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล เสื้อผ้าสิ่งทอ ของเด็กเล่น อุปกรณ์กีฬา เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ แหล่งส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา EU ASEAN เกาหลีใต้ รัสเซีย มูลค่าการนำเข้า 412,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรกล เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิง แหล่งนำเข้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น EU ASEAN เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย รัสเซีย สกุลเงิน หยวนเหริมหมินปี้ (RMB¥) (eny) อัตราการแลกเปลี่ยน 8.2766 หยวน ต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ ประเทศญี่ปุ่น (Japan) 1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 377,865 ตารางกิโลเมตร (พื้นน้ำ 3091 ตารางกิโลเมตร) ลักษณะเป็นเกาะประมาณ 3,900 เกาะ ภูมิอากาศ มี 4 ฤดู ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว เมืองหลวง กรุงโตเกียว (Tokyo) ประชากร 127.6 ล้านคน อัตราการเพิ่มของจำนวนประชากร 0.08% เชื้อชาติ ยะมะโตะ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ศาสนา ศาสนาพุทธ และชินโต คริสต์ ขงจื้อ ภาษา ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษากลาง 2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 5,683,292 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 44,540 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต ร้อยละ 5.0 3. การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออก 520,419 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากโลหะเหล็กกล้า สิ่งทอและเครื่องบริโภค แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลี ฮ่องกง ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อังกฤษ ออสเตรเลีย มูลค่าการนำเข้า - สินค้านำเข้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อาหาร วัตถุดิบต่าง ๆ สิ่งทอ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ จีน สหรัฐอเมริกา ซาอุดิอารเบีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ไทย เยอรมนี สกุลเงิน เยน (YEN:¥) อัตราการแลกเปลี่ยน 81.29 ¥ : ดอลลาร์สหรัฐฯ
ประเทศเกาหลีใต้
(South Korea)
1.ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 99,461 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ อยู่ในเขตอบอุ่นมี 4 ฤดูกาลใน 1 ปี ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว เมืองหลวง กรุงโซล (SEOUL) ประชากร 48.3 ล้านคน เชื้อชาติ เกาหลี ศาสนา 23.2% พุทธ 19.7% คริสต์ 6.6 % คาทอลิคและอื่น ๆ ภาษา ภาษาเกาหลี ภาษาอังกฤษ
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 986,256 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 28,419 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต 4-5 เปอร์เซ็นต์/ปี
3. การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออก 320,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล แหล่งส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา ASEAN ไทย มูลค่าการนำเข้า 294,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เชื้อเพลิง เครื่องจักร เหล็ก เคมีภัณฑ์ พลาสติก แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา ASEAN ไทย สกุลเงิน Won (วอนเกาหลี) หรือ (KRW) อัตราการแลกเปลี่ยน 954.00 KRW/1 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย
(Republic of India)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 3,283,590 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ ร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร เมืองหลวง กรุงนิวเดลี ( New Delhi) ประชากร 1,200.2 ล้านคน อัตราการเพิ่มของประชากร 1.58 เปอร์เซ็นต์/ ปี เชื้อชาติ 72% อินโดอารยัน 25% ดราริเดียน ศาสนา 82.1 % ฮินดู 12% อิสลาม 2.3% คริสต์ 2.1 % ซิกส์ 0.7% พุทธ อื่น ๆ 0.8% ภาษา อังกฤษ ฮินดี ( Hindi) เป็นภาษาประจำชาติภาษาอื่น ๆ ได้แก่ เบงกาลี เตลูกู มาระติ ทมิฬ อุรดู กุจะราติ มาลายาลัม คันนาดา โอริยาและ ปันจามิ
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 1,598,394 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 1.332 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต ร้อยละ 8.7
3. การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออก 35,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์เกษตร แร่ สิ่งทอ อัญมณีเครื่องประดับ แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับ ฮ่องกง อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เบลเยี่ยม มูลค่าการนำเข้า 47,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ ไข่มุกและอัญมณี ทอง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร สารเคมี น้ำมันพืช ถ่านหิน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม จีน อังกฤษ สิงคโปร์ มาเลเซีย สกุลเงิน รูปี (Rupee) หรือ INR อัตราแลกเปลี่ยน 0.180 รูปี ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ประเทศออสเตรเลีย
(Australia)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 7,682,300 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ ตอนเหนือประมาณ 40% ของพื้นที่ เป็นอากาศเขตร้อนชื้น พื้นที่ที่อยู่ตอนใต้ลักษณะอากาศอบอุ่น เมืองหลวง เมืองแคนเบอร่า (Canberra) เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สวยงาม ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1972 ประชากร 22.7 ล้านคน อัตราการเพิ่มของประชากร 1.2% เชื้อชาติ ชาวอะบอริจิน เป็นชนชาติแรกที่มาตั้งรกรากในออสเตรเลีย ศาสนา 75 % นับถือศาสนาคริสต์ นอกนั้นก็เป็นศาสนาอิสลามและยิว ภาษา ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง นอกจากนั้นก็มีภาษาอิตาเลียน กรีก
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 1,297,831 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 57,173 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต
3. การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออก - สินค้าส่งออกที่สำคัญ ถ่านหิน ทองคำ แร่เหล็ก น้ำมันดิบ เนื้อวัว แหล่งส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ มูลค่าการนำเข้า - สินค้านำเข้าที่สำคัญ ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ น้ำมันดิบ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โทรคมนาคม แหล่งนำเข้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เยอรมนี สิงคโปร์ สกุลเงิน ดอลลาร์ออสเตรเลีย 100 เซนต์ เท่ากับ 1 ดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ออสเตรเลีย : 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ประเทศนิวซีแลนด์
(New Zealand)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 268,680 ตารางกิโลเมตร มี 2 เกาะหลักและเกาะเล็ก ๆ อีกมาก ภูมิอากาศ 4 ฤดูกาล คือ ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อน มีฝนตกตลอดปี เมืองหลวง เมือง Wellington (เวลลิงตัน) ประชากร 4.4 ล้านคน เชื้อชาติ อังกฤษ สกอตแลนด์ เผ่าเมารี ศาสนา ศาสนาคริสต์ ภาษา ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 147,754 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 33,580 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต
3.การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออก 21.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์นมเนย เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ไม้ และเครื่องจักร แหล่งส่งออกที่สำคัญ ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน มูลค่าการนำเข้า 24.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ ยานยนต์ เครื่องจักรกล เชื้อเพลิง เครื่องใช้ไฟฟ้าและพลาสติก แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สกุลเงิน ดอลลาร์นิวซีแลนด์ อัตราแลกเปลี่ยน 1.25 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ = 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตารางที่ 2 ตารางเปรียบเทียบประชากร ผลิตภัณฑ์มวลรวม ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาปัจจุบันและอนาคต กลุ่ม/ ประเทศ ประชากร ผลิตภัณฑ์มวลรวม ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว ล้าน US$ US$ กลุ่ม ASEAN ( 10ประเทศ) 586,478,142 1,976,972,000,000 3,371 ASEAN + 3 - จีน 1,346,780,000 6,422,276,000,000 4,767 - ญี่ปุ่น 127,590,000 5,683,292,000,000 44,401 - เกาหลีใต้ 48,333,000 986,256,000,000 20,547 1,522,703,000 13,091,824,000,000 ASEAN + 6 - อินเดีย 1,200,190,000 1,598,394,000,000 1,313 - ออสเตรเลีย 22,674,000 1,297,831,000,000 56,427 - นิวซีแลนด์ 4,412,100 147,754,000,000 33,489 1,227,276,100 3,043,979,000,000 2,749,979,100 16,135,803,000,000 กลุ่ม GCC( 6 ประเทศ) 38,350,000 1,100,174,000,000 28,688 บาเรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอารเบีย สหรัฐเอมิเตอร์ กลุ่ม MERCOSUR (5ประเทศ) 273,773,574 2,715,712,000,000 9,919 อาเจนติน่า บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย เวเนซูเอล่า กลุ่ม EU (27+3 ประเทศ) 5,000,000,000 16,106,896,000,000 32,214 ประเทศในยุโรป รัสเซีย 141,830,000, 1,678,107,000,000 11,832 สหรัฐอเมริกา 313,208,000 15,157,285,000,000 48,393 คานาดา 34,565,000 1,632,894,000,000 47,241 ตารางที่ 4 ตารางแสดงสินค้าออกและสินค้าเข้าของประเทศอาเซียน ประเทศ สินค้าส่งออก สินค้านำเข้า บรูไน ดารุสซาลาม น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ เสื้อผ้า เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง อาหาร เคมีภัณฑ์ ราชอาณาจักรกัมพูชา เครื่องนุ่งห่ม ไม้ซุง ข้าว ยางพารา ปลา ใบยาสูบ รองเท้า ปิโตเลียม ยาสูบ ทองคำ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ เภสัชภัณฑ์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย น้ำมัน ก๊าชธรรมชาติ เครื่องใช้ไฟฟ้า ไม้อัด เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยางพารา เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ น้ำมันและก๊าซ อาหาร สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เครื่องนุ่งห่ม ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ กาแฟ พลังงาน(ไฟฟ้า) ดีบุก เครื่องจักร ยานพาหนะ ปิโตเลียม อุปโภคบริโภค มาเลเซีย เครื่องจักร เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตเลียม แก๊สธรรมชาติ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ น้ำมันปาล์ม ยางพารา สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตเลียม เหล็ก เหล็กกล้า พลาสติก เคมีภัณฑ์ ยานพาหนะ สหภาพพม่า ก๊าซธรรมชาติ ไม้ผลิตภัณฑ์ไม้ สินค้าประมง ข้าว ผ้า ปิโตเลียม ปุ๋ย พลาสติก เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล น้ำมันเชื้อเพลิง ยานพาหนะ พลาสติก สาธารณรัฐสิงคโปร์ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า ราชอาณาจักรไทย เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ส่วนประกอบยานยนต์ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีเครื่องประดับ ยางพารา น้ำมันดิบ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก,เหล็กกล้า แผงวงจรไฟฟ้า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ประมง ข้าว กาแฟ ยางพารา ชา เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตเลียม ปุ๋ย ปูนซีเมนต์ ยานพาหนะ ฝ้าย เมล็ดธัญพืช

อาเซี่ยนบทที่4-6

<

บทที่ 4
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและข้อตกลงของอาเซียน
(ASEAN Economic Cooperation and Agreement)
เขตการค้าเสรีอาเซียน
(ASEAN Free Trade Area : AFTA)
ความเป็นมาของ AFTA
ประเทศสมาชิกสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (The Association of Southeast Asian Nations: ASEAN) จำนวน 6 ประเทศคือ บรูไนดารุสซาลาม อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์และไทยได้ร่วมกันประกาศจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ขึ้นเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2535 (ค.ศ. 1992) โดยการริเริ่มของท่านอานันท์ ปันยารชุน นายกรัฐมนตรีของไทยในขณะนั้น ต่อมาประเทศเวียดนาม ลาว พม่า และกัมพูชา ได้เข้ามาเป็นสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ รวมเป็น 10 ประเทศ มีประชากรรวมกันประมาณ 600 ล้านคน
การดำเนินงานของ AFTA อยู่ภายใต้ความตกลง 2 ฉบับ คือ ความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษที่เท่ากันสำหรับเขตการค้าเสรีอาเซียน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff: CEPT) Scheme for the ASEAN Free Trade Area (AFTA) หรือเรียกความตกลงนี้ว่า CEPT
วัตถุประสงค์ของเขตการค้าเสรีอาเซียน มีดังนี้
1. เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของสินค้าอาเซียน เพราะปัจจุบันการค้าในโลกเริ่มมีความเข้มข้นมากขึ้น และมาตรการเจรจารอบอุรุกวัยภายใต้ WTO
2. เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ เพราะถ้ามาลงทุนในประเทศใดประเทศหนึ่งก็สามารถส่งผลผลิตไปขายให้กับประเทศอื่นในอาเซียนได้โดยไม่เสียภาษีหรือเสียภาษีในอัตราที่ต่ำมาก ประกอบกับอาเซียนมีประชากรรวมกันเกือบ 600 ล้านคน ถือว่าเป็นตลาดที่ใหญ่มาก
3. เพื่อสร้างอำนาจในการต่อรอง เนื่องจากแต่ละประเทศมีการค้าขายกับประเทศใหญ่ ๆ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และยุโรปตะวันออก มีอำนาจการต่อรองน้อยแต่ถ้ารวมกันเป็นอาเซียนแล้วอำนาจการต่อรองก็จะมีมากขึ้น
4. เพื่อส่งเสริมให้การค้าในประเทศอาเซียนด้วยกันมีการขยายตัวมากขึ้นแทนการค้ากับประเทศ อื่น ๆ นอกอาเซียน

เป้าหมายของเขตการค้าเสรีอาเซียน มีดังนี้
1. กำหนดการลดภาษี
1.1 สินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track) จะต้องลดภาษี เหลือร้อยละ 0.5 ภายในเวลากำหนด
- สมาชิกเดิมภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2543 (ค.ศ.2000)
- สมาชิกใหม่ภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007)
1.2 สินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) จะต้องลดภาษีเหลือร้อยละ 0.5 ภายในเวลาที่กำหนด
- สมาชิกเดิมภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2546 (ค.ศ.2003)
- สมาชิกใหม่ภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010)
2. เงื่อนไขการได้รับสิทธิประโยชน์จากการค้าเสรีอาเซียน
2.1 ต้องเป็นสินค้าที่มีอยู่ในบัญชีลดภาษีหรือ Inclusion List (IL) ของประเทศผู้ส่งออกและ
นำเข้า
2.2 เป็นสินค้าที่มีการผลิตในประเทศอาเซียนประเทศใดประเทศหนึ่งหรือมากกว่า 1
ประเทศ รวมกันแล้วคิดเป็นมูลค่าอย่างน้อยร้อยละ 40 ของมูลค่าสินค้าโดยนำกฎว่าด้วย
แหล่งกำเนิดสินค้าแบบสะสมบางส่วน (Partial Cumulation) มาใช้
2.3 อาเซียนได้เริ่มนำกฎการแปลงสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation)
มาใช้ โดยในกรณีที่มีประเทศที่เกี่ยวข้องกับการผลิตมากกว่า 1 ประเทศ จะถือว่าสินค้ามีแหล่งกำเนิดจากประเทศสุดท้ายที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเกิดขึ้น
3. ยกเลิกมาตรการที่มีใช้ภาษี
3.1 ยกเลิกมาตรการจำกัดปริมาณนำเข้า
3.2 ยกเลิกการเก็บค่าธรรมเนียมพิเศษ
3.3 ยกเลิกอุปสรรคทางการค้าที่มิใช่ภาษีในอาเซียนโดยใช้กระบวนการแจ้งข้ามประเทศ
(Cross Notification)
ตารางที่ 5 ตารางแสดงเป้าหมายการลดภาษีภายใต้เขตการค้าเสรี
ปี สมาชิกเก่า สมาชิกใหม่
พ.ศ.2546 (ค.ศ.2003) ลดภาษีเหลือ 0% ร้อยละ 60 ของ IL เวียดนามลดภาษีเหลือ 0.5 % ให้มากที่สุด
พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007) ลดภาษีเหลือ 0% ร้อยละ 80 ของ IL ลาวและพม่าลดภาษีเหลือ 0.5 % ให้มากที่สุด
พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010) ลดภาษีเหลือ 0% ร้อยละ 100 ของ
IL กัมพูชาและพม่าลดภาษีเหลือ 0.5 % ให้มากที่สุด
พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) - ลดภาษีเหลือ 0% ร้อยละ 100 ของ
IL

*IL (Inclusion List) = บัญชีลดภาษี
ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน
(ASEAN Trade in Goods Agreement : ATIGA)
สมาชิกอาเซียนเห็นชอบที่จะปรับปรุงความตกลง CEPT เดิมให้มีความทันสมัย ทัดเทียมกับกฎเกณฑ์ทางการค้าในระดับสากลเพื่อมุ่งไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยได้ปรับกฎเกณฑ์ทางการค้าทั้งด้านมาตรการภาษีและที่มิใช่ภาษีให้ชัดเจนและรัดกุมมากขึ้น นำหลักการอื่น ๆ ที่ใช้อยู่ในสากลมารวมในความตกลงการค้าสินค้าระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาอื่น ๆ โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงสิทธิและพันธกรณีที่มีอยู่เดิม
ทั้งนี้สมาชิกอาเซียนได้เริ่มเจรจาเกี่ยวกับการจัดทำความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียนอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 (ค.ศ.2006) จนได้ข้อสรุปและรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามความตกลงไปในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 (ค.ศ.2009) ณ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี
สาระสำคัญของความตกลง ATIGA
ความตกลง ATIGA ครอบคลุมมาตรการที่สำคัญต่อการส่งออกและนำเข้าสินค้าอย่างเสรีระหว่างประเทศสมาชิก 10 ประเทศ ซึ่งประกอบด้วย ตารางการลดภาษีตามพันธกรณีของอาฟตา การกำหนดให้ใช้มาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากรได้เฉพาะเรื่องที่จำเป็น การส่งเสริมให้มีการอำนวยความสะดวกทางการค้าในภูมิภาคอาเซียน หลักปฏิบัติด้านศุลกากรโดยอิงหลักการสากล หลักเกณฑ์ในการใช้มาตรฐาน กฎระเบียบทางเทคนิค กระบวนการตรวจสอบและรับรองมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช และมาตรการเยียวยาทางการค้า
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ความตกลงฉบับนี้จะช่วยจัดระบบเขตการค้าอาเซียนให้เป็นระบบที่อิงกฎระเบียบมากขึ้น ใช้งานง่ายยิ่งขึ้น มีความโปร่งใส เพราะกฎเกณฑ์ต่าง ๆ กำหนดชัดเจน สะดวกต่อการตรวจสอบพันธกรณีของประเทศสมาชิก ทำให้มั่นใจว่ามีความสอดคล้องกับความตกลงอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้าส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือในทุกภาคส่วน
เขตการลงทุนอาเซียน
(Framework Agreement on the ASEAN Investment Area : AIA)
อาเซียนได้ลงนามกรอบความตกลงว่าด้วยเขตการลงทุนอาเซียน (Framework Agreement on the ASEAN Investment Area: AIA) ในปี 2541 (ค.ศ.1998) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาเซียนเป็นแหล่งดึงดูดการลงทุน ทั้งจากภายในและภายนอกอาเซียนและมีบรรยากาศการลงทุนที่เสรีและโปร่งใส ทั้งนี้จะครอบคลุมเฉพาะการลงทุนโดยตรงในสาขาการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ และบริการที่เกี่ยวข้องกับ 5 สาขาดังกล่าว (Services Incidental) แต่ไม่รวมการลงทุนในหลักทรัพย์ (Securities Investment)
เป้าหมาย
อาเซียนเดิม 6 ประเทศมีเป้าหมายเปิดเสรีการลงทุนและให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) แก่นักลงทุนอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010) และสำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (CLMV) ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015)
หลักการที่สำคัญภายใต้ AIA
1. หลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment : NT) หมายถึง ประเทศสมาชิกจะต้องให้
การปฏิบัติต่อนักลงทุนอาเซียนเท่าเทียมกับที่ปฏิบัติต่อนักลงทุนที่เป็นคนชาติตน ทั้งนี้นักลงทุนอาเซียนหมายถึง บุคคลธรรมดาที่เป็นคนชาติ (National) ของประเทศสมาชิกอาเซียน หรือนิติบุคคลใดของสมาชิกอาเซียนที่ลงทุนในประเทศสมาชิกอื่น โดยมีสัดส่วนการถือหุ้นของคนชาติอาเซียนรวมกันแล้วอย่างน้อยที่สุดเท่ากับสัดส่วนขั้นต่ำที่กำหนดให้เป็นหุ้นคนชาติและสัดส่วนการถือหุ้นประเภทอื่นตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายภายในและนโยบายของชาติ ที่มีการพิมพ์เผยแพร่ของประเทศที่รับการลงทุนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนนั้น ๆ
2. หลักการว่าด้วยการเปิดตลาด (Opening-up of Industries) หมายถึง ประเทศสมาชิกจะต้องเปิดเสรีทุกอุตสาหกรรมแก่นักลงทุนสัญชาติอาเซียนแต่มีข้อยกเว้นได้โดยประเทศสมาชิกจะต้องยื่นรายการประเภทกิจการที่ขอยกเว้นชั่วคราว (Temporary Exclusion List: TEL) และรายการประเภทกิจการที่มีความอ่อนไหว (Sensitive List: SL) ได้แต่ต้องมีการทบทวนเพื่อยกเลิกรายการดังกล่าว


ความตกลงด้านการลงทุนของอาเซียน
(ASEAN Comprehensive Investment Agreement : ACIA)
ปัจจุบันอาเซียนได้ทบทวนความตกลง AIA ให้ผนวกกับความตกลงว่าด้วยการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุนของอาเซียน (ASEAN Agreement for the Promotion and Protection of Investment) ที่มีอยู่เดิมเป็นความตกลงด้านการลงทุนฉบับใหม่ของอาเซียนที่เรียกว่า ACIA (ASEAN Comprehensive Investment Agreement) ซึ่งเป็นการปรับปรุงความตกลงเดิมให้ทันสมัย ครอบคลุม และทัดเทียมกับกฎเกณฑ์การลงทุนในระดับสากล
สาระสำคัญของความตกลง
1. ความตกลง ACIA มีขอบเขตกว้างขวางกว่าการตกลงเขตการลงทุนอาเซียนที่มีอยู่เดิม กล่าวคือ ครอบคลุมขั้นตอนการลงทุนตั้งแต่การส่งเสริมและการอำนวยความสะดวกการเปิดเสรีเพื่อให้เข้ามาลงทุน และการคุ้มครองการลงทุนโดยรวมทั้งการลงทุนทางตรงและการลงทุนในหลักทรัพย์
2. ในด้านการเปิดเสรีการลงทุนจะครอบคลุมภาคการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่และบริการที่เกี่ยวเนื่อง โดยมีพันธกรณีสำคัญ คือ การปฏิบัติต่อการลงทุนจากนิติบุคคลอาเซียน และนิติบุคคลต่างชาติที่จดทะเบียนในอาเซียน เทียบเท่ากับการลงทุนของบุคคลหรือนิติบุคคลของประเทศตน เทียบเท่ากับการปฏิบัติต่อประเทศที่สาม รวมถึงไม่กำหนดเงื่อนไขบังคับในการลงทุน โดยเปิดโอกาสให้สมาชิกทำข้อสงวนสาขาที่ไม่ต้องการเปิดเสรีไว้ในตารางข้อผูกพันโดยไม่ต้องมีการเจราต่อรอง
3. ในด้านการคุ้มครองการลงทุน จะครอบคลุมภาคการผลิต เกษตร ประมง ป่าไม้ เหมืองแร่ และบริการที่เกี่ยวเนื่อง นอกจากนี้ยังรวมถึงการลงทุนในธุรกิจบริการภายใต้กรอบความตกลงด้านบริการอาเซียนด้วย โดยมีพันธกรณีสำคัญ คือ ปฏิบัติต่อนักลงทุนและการลงทุนอย่างเป็นธรรม ให้การชดเชยในกรณีเกิดเหตุการณ์ไม่สงบ หรือในกรณีที่มีการเวนคืน กำหนดขั้นตอนการระงับข้อพิพาทระหว่างรัฐ และระหว่างรัฐกับนักลงทุน
ประโยชน์ของ ACIA
ความตกลงนี้จะช่วยสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันของอาเซียนในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศและการลงทุนระหว่างกันในอาเซียน ซึ่งจะนำไปสู่การไหลเข้าของเงินลงทุนใหม่และการนำผลกลับมาลงทุนใหม่แบบยั่งยืน นอกจากนี้ นักลงทุนและการลงทุนของไทยจะได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกับคนชาติในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งนับเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและส่งเสริมการขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนมากขึ้น

ความตกลงด้านการค้าบริการของอาเซียน
(ASEAN Framework Agreement on Services : AFAS)
ความเป็นมา
ในที่ประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 5 เดือนธันวาคม พ.ศ.2538 (ค.ศ.1995) ที่กรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกอาเซียน ได้ลงนามในความตกลงว่าด้วนการค้าบริการของอาเซียน (ASEAN Framework Agreement on Services: AFAS) ซึ่งกำหนดให้เจรจาเปิดการค้าเสรีบริการโดยการจัดทำข้อผูกพันในด้านการเปิดตลาด (Market Access) การให้ปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment) และด้านอื่น ๆ (Additional Commitments) สำหรับบริการ 7 สาขา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2539 (ค.ศ.1996) ได้แก่
1. การขนส่งทางอากาศ
2. การขนส่งทางทะเล
3. โทรคมนาคม
4. การก่อสร้าง
5. การเงิน
6. การท่องเที่ยว
7. ธุรกิจวิชาชีพ
วัตถุประสงค์ของ AFAS
1. ขยายความร่วมมือในด้านบริการบางสาขาที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้กับสมาชิก
อาเซียนมากขึ้น
2. ลดอุปสรรคด้านการค้าระหว่างสมาชิก
3. เปิดตลาดการค้าบริการระหว่างกลุ่มให้มากขึ้น โดยมีเป้าหมายที่จะเปิดเสรีอย่างเต็มที่ในปี
พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015)
หลักการสำคัญของ AFAS
หลักการสำคัญของความตกลงด้านการค้าบริการของอาเซียน (AFAS) มีดังนี้
1. สมาชิกทุกประเทศต้องเข้าร่วมเจรจาเป็นรอบ รอบละ 3 ปี ซึ่งภายหลังได้ลดเหลือรอบละ 2 ปีแทนเพื่อทยอยการผูกพันการเปิดตลาดให้มากขึ้นทั้งสาขา (Sector) และรูปแบบให้บริการ (Mode of Supply) รวมถึงลดข้อจำกัดที่เป็นอุปสรรคต่อผู้ให้บริการในกลุ่มสมาชิก
2. แต่ละประเทศสมาชิกยังมีสิทธิในการออกกฎระเบียบภายในประเทศของตนเพื่อกำกับดูแลธุรกิจ
บริการให้มีคุณภาพได้
3. ประเทศสมาชิกอาเซียนต้องเปิดตลาดธุรกิจบริการให้แก่กันมากกว่าที่แต่ละประเทศได้มีข้อตกลง
ไว้กับองค์การค้าโลก (WTO)
ผลการเจรจาในแต่ละรอบที่ผ่านมา มีดังนี้
1. การเจรจารอบแรก (พ.ศ.2539-2541) และรอบสอง (พ. ศ.2542-2544) มุ่งเป็นการเปิดเสรีใน 7
สาขา
2. การเจรจารอบสาม (พ.ศ.2545-2547) และรอบสี่ (พ.ศ.2548-2549) เป็นการขยายขอบเขตการ
เจรจาเปิดเสรีทุกสาขาบริการทั้ง 7 สาขา และเปิดตลาดการค้าบริการตามหลักการ ASEAN-X ด้วย คือประเทศสมาชิกตั้งแต่ 2 ประเทศขึ้นไปมีความพร้อมที่จะเปิดเสรีสาขาบริการใดให้แก่กันก็สามารถทำได้ก่อน
3. การเจรจารอบห้า (พ.ศ.2551) และรอบหก (พ.ศ.2552-2553) เป็นการเจรจาในเชิงลึกและจัดทำ
ข้อผูกพันการเปิดการค้าบริการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเปิดตลาดในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015)
นอกเหนือจากการเปิดตลาดการค้าบริการในกรอบของ AFAS สมาชิกยังต้องเร่งรัดเปิดตลาดในสาขาบริการที่เป็นสาขาบริการสำคัญ (Priority Sectors) 5 สาขา ได้แก่
1. สาขาโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศ ภายใน พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010)
2. สาขาสุขภาพ ภายใน พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010)
3. สาขาการท่องเที่ยว ภายใน พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010)
4. สาขาการบิน ภายใน พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010)
5. สาขาบริการโลจิสติกส์ ภายใน พ.ศ.2556 (ค.ศ.2013)




ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน
(ASEAN Industrial Cooperation : AICO)
ภายใต้ความร่วมมือโครงการ AICO (ASEAN Industrial Cooperation: AICO) มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมของอาเซียนและการสนับสนุนการแบ่งการผลิตภายในอาเซียน รวมถึงการใช้วัตถุดิบภายในภูมิภาค
เงื่อนไขการดำเนินการ
1. ผู้ประกอบการอย่างน้อย 1 รายในประเทศอาเซียนประเทศหนึ่งร่วมมือกับผู้ประกอบการอีกอย่างน้อย 1 ราย ในอีกประเทศอาเซียนหนึ่ง (สามารถมีประเทศเข้าร่วมโครงการได้มากกว่า 2 ประเทศ) ยื่นคำร้องขอรับสิทธิประโยชน์ภายใต้ AICO ต่อหน่วยงานที่แต่ละประเทศกำหนด ซึ่งในส่วนของไทยคือ สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
2. ต้องมีหุ้นคนชาติที่บริษัทนั้นตั้งอยู่อย่างน้อยร้อยละ 30
3. ต้องชี้แจงเหตุผลว่าจะร่วมมือกันอย่างไร
สิทธิประโยชน์
1. ในปี พ.ศ.2548 (ค.ศ.2005) สินค้าและวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตภายใต้โครงการ AICO เสียภาษีนำเข้าในอัตราร้อยละ 0
2. สินค้านั้นได้รับการยอมรับเสมือนเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศ
3. สามารถขอรับสิทธิประโยชน์ที่มิใช่ภาษีได้ตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของประเทศที่ให้สิทธิประโยชน์
4. ไม่ถูกจำกัดด้วยระบบโควตาหรือมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี







ความร่วมมือทางด้านการศึกษาของอาเซียน
(ASEAN Cooperation in Education : ACE)
1. เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน (ASEAN University Network-AUN)
เป็นความร่วมมือทางการศึกษาของอาเซียนในระดับอุดมศึกษาในกรอบของอาเซียน สาเหตุที่ต้องเป็นระดับอุดมศึกษา เพราะในอาเซียนนอกจากสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ซึ่งใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการแล้ว ประเทศอื่น ๆ ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ดังนั้นกิจกรรมความร่วมมือในกรอบอาเซียนจึงไม่สามารถจัดในระดับต่ำกว่าระดับอุดมศึกษาได้เพราะจะเป็นปัญหาในเรื่องภาษาอังกฤษ
AUN ได้จัดตั้งขึ้นเมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2538 (ค.ศ.1995) ตามมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เดือนมกราคม พ.ศ.2535 (ค.ศ.1992) ที่ประเทศสิงคโปร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอัตลักษณ์อาเซียนและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านการเสริมความเข้มแข็งของเครือข่ายมหาวิทยาลัยและสถาบันอุดมศึกษาที่มีอยู่แล้ว ดังนั้น AUN จึงมีส่วนสำคัญที่ช่วยจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้บรรลุผลสำเร็จและโดยอำนาจหน้าที่ของกฎบัตรอาเซียนและบันทึกข้อตกลงในการจัดตั้ง AUN คือ
1. ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักปราชญ์ นักวิชาการ นักวิทยาศาสตร์ในภูมิภาค
2. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิชาการและอาชีพในภูมิภาค
3. ส่งเสริมการเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศระหว่างชุมชนนักวิชาการอาเซียน
สมาชิกของ AUN เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำจากประเทศสมาชิก กฎระเบียบต่าง ๆ จึงมีความเคร่งครัดเป็นอย่างมาก และมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมจะต้องเป็น Active Participants ซึ่งประกอบด้วยรายชื่อมหาวิทยาลัย ดังต่อไปนี้







ตารางที่ 6 ตารางแสดงรายชื่อมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก AUN
ลำดับที่ ชื่อมหาวิทยาลัย ประเทศ
1 Universiti Brunei Darussalam
Brunei Darussalam
2 Burapha University
Thailand
3 Chulalongkorn University
Thailand
4 De La Salle Universiti
Philippines
5 The Gadjah Made University
Indonesia
6 Universitas Indonesia
Indonesia
7 Universiti Malaysia
Malaysia
8 Universiti Sains Malaysia
Malaysia
9 University of the Philippines
Philippines
10 University of Yangon
Myanmar
11 Vietnam National University, Hanoi
Vietnam
12 Vietnam Nation University,Ho Chi Minh City
Vietnam
13 Royal University of Law and Economics
Cambodia
14 Institut Teknologi Bandung
Indonesia
15 Yangon Institute of Economics
Myanmar
16 Nanyang Tecnological University
Singapore
17 National University of Laos
Loa PDR
18 National University of Singopore
singapore
19 Rayol Univerity of Phnom Penh
Cambodia
20 Universiti Kabangsaan Malaysia
Malaysia
21 Ateneo de Manila University
Philippines
22 Mahidol University
Thailand
23 Airlangga University
Indonesia
24 Universiti Putra Malaysia
Malaysia
25 Singapore Management University
Singapore
26 Chiang Mai University
Thailand

นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 (ค.ศ.1995) เครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนเป็นที่ยอมรับในบทบาทที่เด่นชัดในการเป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญและทำงานอย่างหนักเพื่อสนับสนุนการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้สำเร็จในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015)
AUN ได้ดำเนินการประสบความสำเร็จด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. ส่งเสริมโปรแกรมอาเซียนศึกษาในภูมิภาค
2. ส่งเสริมความรู้สึกในอัตลักษณ์ของภูมิภาคในระหว่างเยาวชนในอาเซียน
3. ส่งเสริมการยอมรับในคุณวุฒิวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยในภูมิภาค
4. สนับสนุนความร่วมมือด้านงานวิจัยและสร้างเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศในกิจกรรมที่อยู่ในลำดับความสำคัญเพื่อบรรลุเป้าประสงค์ของอาเซียนเพื่อบูรณาการอย่างใกล้ชิดในด้านความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
กิจกรรมที่ AUN ได้ดำเนินการ มีดังนี้
1. โปรแกรมอาเซียนศึกษา (ASEAN Study Programme) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์ อัตลักษณ์ และความร่วมมือระดับอุดมศึกษา
2. การประชุมด้านการศึกษาของ AUN และการแข่งขันการพูดของเยาวชน (AUN Education Forum and Young Speakers Contest) มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาอาเซียนแบ่งปันและรับความรู้ ค่านิยมและทัศนคติระหว่างกัน เพื่อจัดหาเวทีให้เยาวชนอาเซียนได้แสดงออกความคิดและทัศนคติเกี่ยวกับประเด็นปัญหาของอาเซียนและเสริมสร้างเครือข่ายมิตรภาพของเยาวชน
3. การประชุมด้านวัฒนธรรมของเยาวชนอาเซียน (ASEAN Youth Cultural Forum) เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนอาเซียนที่มีความสามารถทางด้านการเต้นรำ ดนตรี และร้องเพลงได้แสดงออกและสร้างเครือข่ายเยาวชน
4. โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียน (AUN Student Exchange Programme) เพื่อเป็นการส่งเสริมการเคลื่อนย้ายนักศึกษาในภูมิภาค สร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน รวมทั้งการส่งเสริมความร่วมมือและสร้างเครือข่ายระหว่างผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการและนักเรียนในอาเซียน
5. โครงการแลกเปลี่ยนคณาจารย์/ผู้เชี่ยวชาญของ AUN (AUN Distinguished Scholars Programme) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเคลื่อนย้ายและสร้างเครือข่ายระหว่าคณาจารย์/ผู้เชี่ยวชาญ โดยเปิดโอกาสให้คณาจารย์ในมหาวิทยาลัยไปแลกเปลี่ยนการสอนให้มหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก AUN เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ความชำนาญและประสบการณ์ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยที่เป็นผู้ส่งและผู้รับคณาจารย์/ผู้เชี่ยวชาญ
6. ความร่วมมือด้านการวิจัย (Collaborative Research) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการทำวิจัยในอาเซียนเพื่อหาข้อสรุปในประเด็นที่เป็นปัญหาของภูมิภาคและสนับสนุนการตัดสินใจในสาขาที่ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนให้ความสำคัญ
7. การสร้างเครือข่ายสารสนเทศของ AUN (AUN Information Networking) เพื่ออำนวยความสะดวกในการเผยแพร่และความร่วมมือระหว่างสมาชิกเพื่อสร้างและพัฒนาระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลออนไลน์ในมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก
8. การประกันคุณภาพการศึกษาของ AUN (AUN Quality Assurance-AUN-QA) มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการพัฒนาระบบประกันคุณภาพการศึกษาในฐานะเป็นเครื่องมือในการรักษาและปรับปรุงการวิจัยด้านการสอนและมาตรฐานทางวิชาการของมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกของ AUN
9. เครือข่ายบัณฑิตสาขาธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ของ AUN (AUN Graduate Business and Economics Programme Network: AGBEP Network) มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาคุณภาพของบัณฑิตในสาขาดังกล่าวที่จัดสอนในมหาวิทยาลัยสมาชิก AUN
10. การประชุมอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเครือข่าย AUN (AUN Rectors’ Meeting) มีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาระหว่างผู้บริหารระดับผู้กำหนดนโยบายของมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิกเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน
2. ศูนย์กลางทางการศึกษา (Education Hub)
ศูนย์กลางทางการศึกษา หมายถึง การจัดตั้งศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาคอาเซียนโดยกำหนดให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง ทั้งนี้เพราะเมื่ออาเซียนได้รวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียว เยาวชนจะต้องปรับตัวให้เป็นเยาวชนของอาเซียนโดยมีการศึกษาเท่าเทียมกัน ไม่มีการแบ่งชนชั้น สีผิวและศาสนา

ความแตกต่างของแต่ละประเทศของสมาชิกอาเซียนที่เยาวชนของแต่ละประเทศสมาชิกจะต้องปรับตัว พอสรุปได้ดังนี้
1. ด้านภาษา
2. ด้านศาสนาและวัฒนธรรม
3. ด้านสังคม
4. ด้านเศรษฐกิจ
5. ด้านการเมืองและการปกครอง
6. ด้านการศึกษา
7. ด้านเชื้อชาติ
การดำเนินการปรับปรุงศูนย์กลางการศึกษา มีดังนี้
1. ปรับปรุงศูนย์การพัฒนาอัจฉริยภาพ (Resource Center)
2. ทุกโรงเรียนมีศูนย์พัฒนาอัจฉริยภาพ เป็นศูนย์การเรียนรู้ที่ทันสมัย ครบวงจร มีมุมเรียนรู้ มุม
สืบค้น มุมเรียนรู้ด้วยตนเอง และ Entertainment
3. จัดรูปแบบโรงเรียน 3 รูปแบบ
3.1 ใช้หลักสูตรต่างประเทศ สามารถเทียบโอนหน่วยกิตได้
3.2 ใช้หลักสูตรพหุภาษา ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาเพิ่มเติม IT และภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษา
อาเซียน
3.3 โรงเรียนวิทย์-คณิต 2 ภาษา เสริมวิชา อาเซียนศึกษา IT และจัดการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษ
4. สนับสนุนสื่อการสอนต่างประเทศให้ทันสมัยและสอดคล้องกับหลักสูตร
5. พัฒนาผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้สามารถจัดการแบบองค์กรใหม่
6. พัฒนาครูในโรงเรียนให้เข้าโครงการโดยพัฒนากลุ่มสาระต่าง ๆ
7. พัฒนารอง ผอ.สพฐ ศึกษานิเทศก์ ที่รับผิดชอบโครงการ
8. ติดตามและประเมินผลโครงการ
9. จัดนิทรรศการ ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร

บทที่ 5
กลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียน
(ASEAN Protocol on Enhanced Dispute Settlement Mechanism)
กระบวนการระงับข้อพิพาทของอาเซียน
กลไกการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่เดิมนั้นได้มีการปรับปรุง ให้มีความเหมาะสมและชัดเจนยิ่งขึ้น โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียนฉบับใหม่ (ASEAN Protocol on Enhanced Dispute Settlement Mechanism) เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ.2004) ณ กรุงเวียงจันทร์ ประเทศสาธารณะประชาธิปไตยประชาชนลาว
สาระสำคัญของสารว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียนฉบับใหม่มีสาระสำคัญ คือ ประเทศสมาชิกอาเซียนมีสิทธิ์ใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทฉบับใหม่ของอาเซียนได้ เมื่อเห็นว่าประเทศสมาชิกอื่นใช้มาตรการที่ขัดต่อข้อตกลงของอาเซียน ในขั้นแรก คือ การหารือกับประเทศสมาชิกคู่กรณี หากไม่สามารถตกลงกันได้ ขั้นต่อไปสามารถขอจัดตั้งคณะผู้พิจารณา (Panel) เพื่อประท้วงการตัดสินคดี ซึ่งถ้าหากคำตัดสินของคณะผู้พิจารณายังไม่เป็นที่พอใจ ประเทศที่เป็นฝ่ายโจทย์ในคดีสามารถยื่นอุทธรณ์ได้โดยให้องค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) เป็นผู้พิจารณาประเทศสมาชิกที่เป็นฝ่ายแพ้คดี ต้องปฏิบัติตามคำตัดสินของคณะผู้พิจารณาหรือองค์กรอุทธรณ์อีกทั้งยังต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการพิจารณาคดีด้วย โดยการดำเนินการแต่ละขั้นตอนต้องอยู่ภายในกรอบเวลาที่กำหนดไว้คือต้องไม่เกิน 445 วัน









แผนผังกระบวนการระงับข้อพิพาทของอาเซียน





















ระบบการระงับข้อพิพาทอื่นๆ ของอาเซียน
นอกจากนั้นอาเซียนยังได้ปรับปรุงกลไกการดำเนินงานให้มีระบบการระงับข้อพิพาทอื่น ทั้งในลักษณะของการให้คำปรึกษาหรือชี้แนะแนวทางการแก้ไขปัญหา ดังนี้
1. จัดตั้งหน่วยงานด้านกฎหมาย (ASEAN Legal Unit) ขึ้น ณ สำนักเลขาธิการอาเซียนกรุงจากาตาร์ ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อให้คำปรึกษาหารือและการตีความกฎหมายและความตกลง/พิธีสารฉบับต่าง ๆ ของอาเซียน
2. จัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลแก้ไขปัญหาการค้าและการลงทุนของอาเซียนทางอินเทอร์เน็ต (ASEAN Consultations to Solve Trade and Investment Related Issues-ACT) เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการค้าและการลงทุนของประเทศสมาชิกอาเซียน โดยวิธีการติดต่อประสานงานทางอินเทอร์เน็ต เป็นการลดขั้นตอนและระยะเวลาในการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาให้ลุล่วง โดย National AFTA Unit ของไทย คือ กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งรับผิดชอบในฐานะเป็น ACT Focal Point และติดต่อได้ที่ Thailand_act@dth.go.th
3. จัดตั้งคณะผู้ติดตามและตรวจสอบการดำเนินงานของอาเซียน (ASEAN Compliance Body-ACB) เพื่อกำกับดูแลให้ประเทศสมาชิกปฏิบัติตามพันธะกรณีต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างจริงจัง โดยสมาชิกอาเซียนมีสิทธิแต่งตั้งผู้แทน ACT ได้ประเทศละ 1 คน สำหรับไทยได้แต่งตั้งอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเป็นผู้แทนใน ACB









บทที่ 6
ประชาคมอาเซียน
(ASEAN Community)
ความเป็นมา
ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือ การให้ประเทศสมาชิกอาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกัน ประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศซึ่งมีประชาชนรวมกันประมาณ 600 ล้านคน ซึ่งถือว่าเป็นประชาคมที่มีขนาดใหญ่มาก ดังนั้นเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2546 (ค.ศ.2003) ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียนที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 (Bali Concord II) โดยเห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ให้เสร็จภายในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) แต่เนื่องจากอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศจีนและประเทศอินเดียสูงมากและทั้งสองประเทศมีประชากรมากทำให้การแข่งขันทางเศรษฐกิจมีความรุนแรงจึงทำให้การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อปี พ.ศ.2552 (ค.ศ.2009) ผู้นำอาเซียนจึงได้ลงนามรับรองปฏิญญา ชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยแผนการจัดตั้งประชาคมอาเซียน 2009-2015 เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เสร็จภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015)











ตารางที่ 7 ตารางแสดงรายชื่อประเทศสมาชิกอาเซียน จำนวนประชากรและปีที่เป็นสมาชิก
ลำดับที่ ชื่อประเทศ จำนวนประชากร
(ล้านคน) ปีที่เป็นสมาชิก
พ.ศ. (ค.ศ.)
1 ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand) 67.36 2510 (1967)
2 มาเลเซีย (Malaysia) 27.47 2510 (1967)
3 สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Republic of Indonesia) 231.37 2510 (1967)
4 สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (The Republic of the Philippines) 92.22 2510 (1967)
5 สาธารณรัฐสิงคโปร์ (The Republic of the Singapore) 5.08 2510 (1967)
6 บรูไนดารุสซาลาม (Brunei Darussalam) .41 2527 (1984)
7 สาธารณรัฐสังคมเวียดนาม (The Socialist Republic of Vietnam) 90.55 2538 (1995)
8 สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (The Lao People’s Democratic Republic of Lao : PDR ) 6.84 2540 (1997)
9 สหภาพพม่า (Union of Myanmar) 50.52 2540 (1997)
10 ราชอาณาจักรกัมพูชา (Kingdom of Cambodia ) 14.81 2542 (1999)
รวมประชากร 586.63

สามเสาหลักประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community : APSC)
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community : AEC)
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community : ASCC)
ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political Security Community: APSC)
มีวัตถุประสงค์จะให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบการแก้ไขความขัดแย้งระหว่างกันด้วยดี มีเสถียรภาพรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรองรับภัยคุกความความมั่นคงในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียนจึงต้องดำเนินการโดย
1. ใช้เอกสารทางการเมืองและกลไกของอาเซียนที่มีอยู่แล้วในการเพิ่มศักยภาพในการแก้ไขปัญหาข้อพิพาทในภูมิภาครวมทั้งการต่อต้านการก่อการร้าย การลักลอบค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์ อาชญากรรมข้ามชาติอื่น ๆ และการขจัดอาวุธที่มีศักยภาพทำลายล้างสูง
2. ริเริ่มกลไกใหม่ ๆ ในการเสริมสร้างความมั่นคงและกำหนดรูปแบบใหม่สำหรับความร่วมมือในด้านนี้ ซึ่งรวมไปถึงการกำหนดมาตรฐานในการป้องกันการเกิดข้อพิพาทและการส่งเสริมสันติภาพหลังจากการเกิดข้อพิพาท
3. ส่งเสริมความร่วมมือความมั่นคงทางทะเล ซึ่งอาเซียนยังไม่มีความร่วมมือด้านนี้
ทั้งนี้ความร่วมมือข้างต้นจะไม่กระทบต่อนโยบายต่างประเทศ และความร่วมมือทางทางทหารของประเทศสมาชิกและประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
มีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจและอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างสมาชิกด้วยกัน เพื่อให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่นคงและสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้และเพื่อความอยู่ดีกินดีของประชากรในประเทศสมาชิกอาเซียน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีในสินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาเศรษฐกิจ และลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020)
2. ทำให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (Single Market and Production Base)
3. ให้ความช่วยเหลือแก่สมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างในการพัฒนาและช่วยในกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
4. ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายทางด้านการเงินและเศรษฐกิจมหาภาคและตลาดทุน การประกันภัย การภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคม ด้านกฎหมาย พลังงาน เกษตร การท่องเที่ยว การศึกษา และการพัฒนาฝีมือแรงงาน
ประชาคมสังคม - วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community: ASCC)
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภูมิภาคอาเซียนอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างเอื้ออาทร มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี และได้รับการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน ดังนี้
1. การพัฒนาสังคมโดยการยกระดับความเป็นอยู่ของผู้ด้อยโอกาสและผู้ที่อาศัยอยู่ในถิ่นทุรกันดาร
2. การพัฒนาอบรมด้านการศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี การสร้างงาน และคุ้มครองทางสังคม
3. ส่งเสริมความร่วมมือทางด้านสาธารณสุข ได้แก่ การป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ
4. การขจัดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม
5. ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักเขียน นักคิด และศิลปินในภูมิภาค

ตารางที่ 8 ตารางแสดงการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน (ระหว่าง พ.ศ.2519-2553)
ครั้งที่ วันที่ ประเทศเจ้าภาพ สถานที่จัดตั้งการประชุม
ครั้งที่ 1 23-24 กุมภาพันธ์ 2519 (ค.ศ.1976) ประเทศอินโดนีเซีย บาหลี
ครั้งที่ 2 4-5 สิงหาคม 2520 (ค.ศ.1977) ประเทศมาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 3 14-15 ธันวาคม 2530 (ค.ศ.1987) ประเทศฟิลิปปินส์ มะนิลา
ครั้งที่ 4 27-29 มกราคม 2535 (ค.ศ.1992) ประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์
ครั้งที่ 5 14-15 ธันวาคม 2538 (ค.ศ.1995) ประเทศไทย กรุงเทพมหานคร
ครั้งที่ 6 15-16 ธันวาคม 2541 (ค.ศ.1998) ประเทศเวียดนาม ฮานอย
ครั้งที่ 7 5-6 พฤศจิกายน 2544 (ค.ศ.2001) ประเทศบรูไนดารุสซาลาม บันดาร์เสรีเบการ์วัน
ครั้งที่ 8 4-5 พฤศจิกายน 2545 (ค.ศ.2002) ประเทศกัมพูชา พนมเปญ
ครั้งที่ 9 7-8 ตุลาคม 2546 (ค.ศ.2003) ประเทศอินโดนีเซีย บาหลี
ครั้งที่ 10 29-30 พฤศจิกายน 2547 (ค.ศ.2004) ประเทศลาว เวียงจันทร์
ครั้งที่ 11 12-14 ธันวาคม 2548 (ค.ศ.2005) ประเทศมาเลเซีย กัวลาลัมเปอร์
ครั้งที่ 12 11-14 มกราคม 2550 (ค.ศ.2007) ประเทศฟิลิปปินส์ เซบู
ครั้งที่ 13 18-22 พฤศจิกายน 2550 (ค.ศ.2007) ประเทศสิงคโปร์ สิงคโปร์
ครั้งที่ 14 27 กุมภาพันธ์-1 มีนาคม 2552
10-11 เมษายน 2552 (ค.ศ.2009) ประเทศไทย ชะอำ,หัวหิน
พัทยา
ครั้งที่ 15 23-25 ตุลาคม 2552 (ค.ศ.2009) ประเทศไทย ชะอำ,หัวหิน
ครั้งที่ 16 8-9 เมษายน 2553 (ค.ศ.2010) ประเทศเวียดนาม ฮานอย

อาเซี่ยนบทที่7-8





บทที่ 7

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน

( ASEAN Political – Security Community: APSC)


ความเป็นมา

ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน เป็นเสาหลักหนึ่งในสามเสาหลัก หลังจากผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้เห็นชอบให้จัดตั้งประชาคมอาเซียน( ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) โดยกระบวนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน มีรากฐานมาจากความร่วมมือและความ ตกลงในด้านการเมืองและความมั่นคง ที่ประชาคมอาเซียนได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ ได้แก่
1. สนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
2. สนธิสัญญาว่าด้วยการทำให้ภูมิภาคอาเซียน เป็นเขตแห่งสันติภาพ เสรีภาพ และความเป็นกลาง
3. สนธิสัญญาเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
4. การประชุมอาเซียนว่าด้วยความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก
การเป็นประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนจะช่วยให้ภูมิภาคมีเสถียรภาพอันเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อ
1 การสร้างค่านิยมและแนวปฏิบัติร่วมกันของอาเซียน เช่น ค่านิยมการไม่ใช้กำลัง และการไม่ใช้อาวุธนิวเคลียร์
2. เสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันการเผชิญภัยคุกคามในด้านความมั่นคงในรูปแบบต่าง ๆ
3. เพื่อทำความสัมพันธ์กับประชาคมโลก
4. เพื่อสร้างกลไกในการแก้ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิก
ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 14 ที่อำเภอชะอำและอำเภอหัวหิน ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 (ค.ศ.2009) ผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียน ได้รับรองพิมพ์เขียวหรือแผนการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงของอาเซียน (ASEAN Political – Security Community Blueprint) ซึ่งจะกำหนดกรอบและกิจกรรมที่จะทำให้ประชาคมอาเซียนบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015)
แผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (APSC Blueprint)
จากหลักการที่กล่าวมาแล้วพอสรุปได้ว่า ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียนประกอบด้วยคุณลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ
1. ประชาคมมีกติกาและมีการพัฒนาค่านิยมและบรรทัดฐานร่วมกัน
2. ประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคเป็นเอกภาพ สงบสุข แข็งแกร่งและรับผิดชอบร่วมกัน
3. ประชาคมที่ทำให้ภูมิภาคมีพลวัตร และมองไปยังโลกภายนอกที่มีการรวมตัวและลักษณะพึ่งพาซึ่งกันและกัน
ก. ประชาคมที่มีกฎเกณฑ์และบรรทัดฐาน และค่านิยมร่วมกัน
1. ความร่วมมือด้านการพัฒนาทางการเมือง
1.1 ส่งเสริมความเข้าใจและยอมรับในระบอบการเมืองต่าง ๆ วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ของประเทศสมาชิก
1.2 ปูทางสำหรับกรอบองค์กรเพื่ออำนวยความสะดวกต่อการไหลเวียนของข้อมูลโดยเสรี เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในระหว่างประเทศสมาชิก
1.3 จัดทำแผนงานเพื่อสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างหลักนิติธรรม ระบบยุติธรรมและโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมาย
1.4 ส่งเสริมธรรมมาภิบาล
1.5 ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
1.6 เน้นการมีส่วนร่วมขององค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียนในการขับเคลื่อนความคิดริเริ่มเพื่อพัฒนาการเมืองของอาเซียน
1.7 ป้องกันและปราบปรามการทุจริต
1.8 ส่งเสริมหลักประชาธิปไตย
1.9 ส่งเสริมสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค
2. การสร้างและแบ่งปันเกณฑ์ร่วม
2.1 ปรับกรอบสถาบันของอาเซียนให้เป็นไปตามกฎบัตรอาเซียน
2.2 เสริมสร้างความร่วมมือภายใต้สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือในภูมิภาคอาเซียน
2.3 ส่งเสริมให้มีการดำเนินการอย่างสมบูรณ์ตามปฏิญญาว่าด้วยทะเลจีนใต้เพื่อสันติภาพและเสถียรภาพในทะเลจีนใต้
2.4 ส่งเสริมให้มีความมั่นใจว่ามีการดำเนินการตามสนธิสัญญาว่าด้วยเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์ในภูมิภาคอาเซียน
2.5 ส่งเสริมความร่วมมือทางทะเลอาเซียน
ข. ภูมิภาคมีความเป็นเอกภาพ สงบสุข และมีความแข็งแกร่งพร้อมทั้งมีความรับผิดชอบร่วมกัน เพื่อแก้ไขปัญหาความมั่นคงที่ครอบคลุมในทุกมิติ
1. ป้องกันความขัดแย้ง เสริมสร้างมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ
1.1 เสริมสร้างมาตรการการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจ
1.2 ส่งเสริมความโปร่งใส และความเข้าใจในนโยบายกลาโหมและมุมมองด้านความมั่นคง
1.3 สร้างกรอบการดำเนินการทางสถาบันที่จำเป็นเพื่อเสริมสร้างกระบวนการภายใต้กรอบการ
ประชุม ARF เพื่อสนับสนุนประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน
1.4 ส่งเสริมความพยายามในการธำรงความเคารพในบูรณาภาพแห่งดินแดนอธิปไตยและเอกภาพของประเทศสมาชิก
1.5 ส่งเสริมการพัฒนาบรรทัดฐาน เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในด้านการป้องกันทางทหารและ
ความมั่นคงอาเซียน
2. การแก้ไขความขัดแย้งและระงับข้อพิพาทโดยสันติ
2.1 พัฒนารูปแบบการระงับข้อพิพาทโดยสันติเพิ่มเติมจากรูปแบบที่มีอยู่และพิจารณาเสริมสร้าง
รูปแบบดังกล่าวให้เข้มแข็งขึ้นด้วยกลไกเพิ่มเติมตามที่จำเป็น
2.2 เสริมสร้างกิจกรรมการค้นคว้า วิจัยเรื่องสันติภาพ การจัดการความขัดแย้งและแก้ไขความ
ขัดแย้ง
2.3 ส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและเสถียรภาพ
3. การสร้างสันติภาพหลังความขัดแย้ง
3.1 เสริมสร้างความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมของอาเซียน
3.2 ดำเนินการตามโครงการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ และสร้างขีดความสามารถในพื้นที่หลังความ ขัดแย้ง
3.3 เพิ่มความร่วมมือในด้านการไกล่เกลี่ย ประนีประนอมและค่านิยมที่มีสันติภาพเป็นศูนย์กลาง
4. ประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่
4.1 เสริมสร้างความร่วมมือในการรับมือประเด็นปัญหา ความมั่นคงรูปแบบใหม่ โดยเฉพาะการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ
4.2 เพิ่มความพยายามในการต่อต้านการก่อการร้ายโดยให้สัตยาบันโดยเร็วและดำเนินการอย่างเต็มที่ตามอนุสัญญาอาเซียนว่าด้วยการต่อต้านการก่อการร้าย
5. เสริมสร้างความร่วมมือของอาเซียน ด้านการจัดการภัยพิบัติและการตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉิน
6. การตอบสนองอย่างมีประสิทธิภาพและทันกาล ต่อประเด็นเร่งด่วนหรือสถานการณ์วิกฤติที่ส่งผลกระทบต่ออาเซียน
ค. ภูมิภาคที่มีพลวัตรและมองไปยังโลกภายนอก ในโลกที่มีการรวมตัวและพึ่งพาอาศัยกันยิ่งขึ้น
1. ส่งเสริมความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน เป็นศูนย์กลางในความร่วมมือระดับภูมิภาคและการสร้างประชาคม
2. ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่เพิ่มพูนกับประเทศภายนอกอาเซียน
3. เสริมสร้างการปรึกษาหารือ และความร่วมมือในประเด็นพหุภาคีที่เป็นความกังวลร่วมกัน


การดำเนินการและการทบทวนการดำเนินการตามแผนงานของ APSC
1. กลไกในการดำเนินงาน
1.1 ประเทศสมาชิกบูรณาการโครงการและกิจกรรมของแผนเข้าสู่แผนพัฒนาแห่งชาติ
1.2 ประชุมเจ้าหน้าที่ระดับอาวุโส เพื่อให้มั่นใจว่ามีการดำเนินการในแผน
1.3 ประชุมประสานงานสำหรับแผนปฏิบัติการ ประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (ASCCO)
1.4 คณะมนตรีประชาคมการเมืองความมั่นคงอาเซียน (APSC) รับผิดชอบในการดำเนินงานใน
ภาพรวมของแผนงาน
1.5 รายงานความก้าวหน้าของการดำเนินงาน APSC ต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนทุกปี
2. การระดมทรัพยากร สามารถระดมได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
2.1 จากประเทศสมาชิกอาเซียน
2.2 กองทุนพัฒนาอาเซียน (ADF)
2.3 ประเทศคู่เจรจา
2.4 ประเทศผู้บริจาค
2.5 องค์การระหว่างประเทศ
2.6 ภาคเอกชนและองค์กรที่มิใช่รัฐ
3. ยุทธศาสตร์การสื่อสาร
มีการพัฒนาและเริ่มใช้แผนการสื่อสารระดับประเทศและภูมิภาค ซึ่งนอกจากจะสร้างความตระหนักของสาธารณะต่อข้อริเริ่มต่าง ๆ ยังช่วยให้ผู้มีส่วนได้เสียได้มีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าว
4. กลไกในการทบทวน
แผนงานของ APSC ได้รับการทบทวนและประเมินเพื่อให้มั่นใจว่ากิจกรรมทั้งหมดสอดคล้องและรองรับต่อความจำเป็น และประเด็นที่สำคัญของสมาคมอาเซียน โดยคำนึงถึงพลวัตรที่เปลี่ยนแปลงของภูมิภาคและบริบทของโลก การทบทวนและประเมินกระทำทุกสองปี โดยประสานกับสำนักเลขาธิการอาเซียน ผลการทบทวนและประเมินจะรายงานต่อการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน โดยเลขาธิการอาเซียนผ่านคณะมนตรี APSC









บทที่ 8

ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

(ASEAN Economic Community : AEC)

ความเป็นมา
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของสมาคมอาเซียน (ASEAN Community) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคงและมั่งคั่งและสามารถแข่งกับภูมิภาคอื่นได้ ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้
1. ให้มีการไหลเวียนอย่างเสรีของสินค้า บริการ การลงทุน การเงิน
2. ให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว
3. ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ (Cambodia Lao Myanmar Vietnam : CLMV )
4. ส่งเสริมนโยบายความร่วมมือทางเศรษฐกิจ และพัฒนาโครงสร้างด้านพื้นฐาน ด้านคมนาคม เกษตร พลังงาน การศึกษา การท่องเที่ยว และการพัฒนาฝีมือแรงงาน
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียนได้พัฒนามาตลอด แต่เริ่มมีความชัดเจนในการประชุมผู้นำ สุดยอดอาเซียนครั้งที่ 8 เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ.2545 (ค.ศ.2002) ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา มีผู้นำอาเซียนเห็นชอบให้อาเซียนกำหนดทิศทางการดำเนินงานเพื่อเป็นแนวทางไปสู่เป้าหมายอย่างชัดเจน ได้แก่ การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีการพัฒนาที่สำคัญ ดังนี้

ตารางที่ 9 ตารางแสดงวิวัฒนาการสำคัญของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน
ปี การดำเนินการ
พ.ศ.2546
(ค.ศ.2003) ผู้นำอาเซียนประกาศแถลงการณ์ Bali Concord ॥ เห็นชอบที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งประกอบด้วยสามเสาหลัก ได้แก่ ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ภายในปี ค.ศ.2020
พ.ศ.2547
(ค.ศ.2004) ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนและรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารรายฉบับ รวม 11 ฉบับ ซึ่งมี Roadmap เพื่อการรวมกลุ่มสาขาสำคัญเป็นภาคผนวกโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำร่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจใน 11 สาขาสำคัญก่อน (เกษตร/ประมง/ผลิตภัณฑ์ไม้/ผลิตภัณฑ์ยาง/สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม/ยานยนต์/อิเล็กทรอนิกส์/สุขภาพ/เทคโนโลยีสารสนเทศ/การท่องเที่ยว/การบิน)
พ.ศ.2548
(ค.ศ.2005) เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียนพิจารณาทบทวนปรับปรุงแผนงานการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนในระยะที่ 2 เพื่อปรับปรุงมาตรการต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและรวมข้อเสนอของภาคเอกชน
พ.ศ.2549
(ค.ศ.2006) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนลงนามในกรอบความตกลงว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียนและพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาสำคัญ (ฉบับแก้ไข)
มกราคม พ.ศ.2550
(ค.ศ.2007) ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี ค.ศ.2015 เพื่อเร่งรัดเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นอีก 5 ปี จากเดิมที่กำหนดไว้ในปี ค.ศ.2020 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาเซบูว่าด้วยแผนแม่บทกฎบัตรอาเซียน เพื่อสร้างนิติฐานะให้อาเซียนและปรับปรุงกลไก/กระบวนการดำเนินงานภายในของอาเซียน เพื่อรองรับการเป็นประชาคมอาเซียน
สิงหาคม พ.ศ.2550
(ค.ศ.2007) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรวมกลุ่มสาขาโลจิสติกส์ของอาเซียน โดยมี Roadmap เพื่อการรวมกลุ่มสาขาโลจิสติกส์เป็นภาคผนวก ซึ่งจะเป็นสาขาสำคัญลำดับที่ 12 ที่อาเซียนจะเร่งรัดการรวมกลุ่มให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
พฤศจิกายน พ.ศ.2550
(ค.ศ.2007) ผู้นำอาเซียนลงนามในปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมอาเซียน ซึ่งมีแผนการดำเนินงาน (AEC Blueprint) และตารางเวลาดำเนินงาน (Strategic Schedule) เป็นเอกสารภาคผนวก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างอาเซียนให้เป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ลดช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก และส่งเสริมการรวมตัวของอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก
พ.ศ.2551
(ค.ศ.2008) รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้เห็นชอบให้จัดทำแผนงานติดตามประเมินผลการดำเนินงาน (AEC Scorecard) เพื่อวัดผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ ภายใต้ AEC Blueprint และให้มีการรายงานผลต่อผู้นำรับทราบในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นประจำทุกปี

พิมพ์เขียวเพื่อการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint)
ในการประชุมสุดยอดอาเซียนเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2540 (ค.ศ.1997) ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ผู้นำอาเซียนได้ประกาศวิสัยทัศน์อาเซียน 2020 (ASEAN Vision2020) เพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงภูมิภาคอาเซียนให้เป็นภูมิภาคที่มีความมั่งคั่งและมั่นคง ต่อมาในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 9 เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ.2546 (ค.ศ.2003) ณ เกาะบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ผู้นำอาเซียนได้ประกาศแถลงการณ์ฉบับที่ 2 เพื่อตั้งเป้าหมายการดำเนินการไปสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) เพื่อครอบคลุม 3 เสาหลัก ได้แก่ ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
การประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 11 เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2548 (ค.ศ.2005) ณ ประเทศมาเลเซีย ผู้นำอาเซียนได้มอบหมายให้รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน หารือเรื่องความเป็นไปได้ที่จะจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เสร็จในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) เพื่อให้เร็วขึ้นกว่าเดิมเป็นเวลา 5 ปี ดังนั้นในการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2549 (ค.ศ.2006) ที่ประชุมเห็นชอบให้จัดทำพิมพ์เขียวเพื่อให้การจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้สำเร็จในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015)
ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั้งที่ 12 เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007) ณ เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ผู้นำอาเซียนได้ประกาศเจตนารมณ์ตามแถลงการณ์เซบูที่จะเร่งจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) และการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 13 เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007) ที่ประเทศสิงคโปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งประกอบด้วยแผนการดำเนินงาน (AEC Blueprint) และตารางเวลาดำเนินงาน (Strategic Schedule)
วัตถุประสงค์ในการจัดทำ AEC Blueprint
1. เพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจให้ชัดเจนตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด จนบรรลุเป้าหมายของ AEC ในปี 2558 (ค.ศ.2015)
2. เพื่อสร้างพันธสัญญาระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อที่จะดำเนินงานไปสู้เป้าหมายดังกล่าวร่วมกัน
องค์ประกอบสำคัญของ AEC Blueprint
1. การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วม โดยส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ การลงทุน แรงงานที่มีฝีมือและการเคลื่อนย้ายเงินให้เสรีมากขึ้น
2. การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ การส่งเสริมนโยบายการแข่งขัน นโยบายภาษี การขนส่ง เทคโนโลยีและรวมถึงทรัพย์สินทางปัญญา
3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ส่งเสริมการรวมกลุ่มของสมาชิก ลดช่องว่างของการพัฒนาระหว่างสมาชิกเก่าและสมาชิกใหม่รวมถึงการสนับสนุนพัฒนา SMEs ด้วย
4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มเข้ากับประชาคมโลก เป็นการประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียน เช่น การจัดทำเขตการค้าเสรี สร้างเครือข่ายด้านการผลิตและการจำหน่าย
เครื่องมือติดตามวัดผลการดำเนินงาน (AEC Scorecard)
ในการดำเนินงานตาม AEC Blueprint ของแต่ละประเทศให้ใช้เครื่องมือติดตามวัดผลการดำเนินงาน (AEC Scorecard) โดยเสนอให้ผู้นำอาเซียนทราบในการประชุมสุดยอดอาเซียนทุก ๆ ปี
คุณลักษณะที่สำคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน มีดังนี้
1. การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว
2. การเป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง
3. การเป็นภูมิภาคที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจเท่าเทียมกัน
4. การเป็นภูมิภาคที่บูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลกอย่างสมบูรณ์
การดำเนินการไปสู่คุณลักษณะในแต่ละด้าน
1. ด้านการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ
1.1 การเคลื่อนย้ายสินค้าอย่างเสรี
1.1.1 เป็นการส่งเสริมไปสู่จุดมุ่งหมายของการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว
1.1.2 ดำเนินการผ่านเขตการค้าเสรี
1.1.3 ปฏิบัติตามความตกลงว่าด้วยอัตราภาษีพิเศษ (ความตกลง SEPT)
1.1.4 ยกเลิกภาษีศุลกากรสำหรับสินค้าภายในอาเซียน
1.1.5 ยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี
1.1.6 ใช้กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origin: ROO) สนองการเปลี่ยนแปลงการผลิตของโลก
1.1.7 อำนวยความสะดวกในทางการค้า กระบวนการ ระเบียบพิธีการ ฯลฯ
1.1.8 การรวมกลุ่มทางศุลกากร
1.1.9 อำนวยความสะดวกในด้านศุลกากร
1.1.10 ปรับมาตรฐานและขจัดอุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า เช่น ระบบมาตรฐานคุณภาพ
1.2 การเคลื่อนย้ายบริการอย่างเสรี
1.2.1 เปิดเสรีการค้าบริการ เพื่อให้ผู้ให้บริการสามารถเปิดบริการในประเทศสมาชิกได้
1.2.2 เปิดการอำนวยความสะดวกการเคลื่อนย้ายบุคลากรในภูมิภาค
1.2.3 เปิดเสรีสำหรับสาขาบริการด้านการเงิน
1.3 การเคลื่อนย้ายการลงทุนอย่างเสรี
1.3.1 นโยบายลงทุนอย่างเสรีและเปิดกว้าง
1.3.2 ให้ความร่วมมือในด้านการลงทุน
1.3.3 การลงทุนตามข้อตกลงเปิดเสรีและปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ
1.3.4 สนับสนุนการรวมกลุ่มในภูมิภาค
1.3.5 ให้การส่งเสริมความคุ้มครองผู้ลงทุนและลงทุนภายใต้ข้อตกลง
1.3.6 กฎระเบียบ กฎเกณฑ์ นโยบายและขั้นตอนการลงทุนมีความโปร่งใส
1.3.7 ส่งเสริมให้อาเซียนเป็นแหล่งรวมของการลงทุน
1.3.8 ทยอยเปิดเสรีการลงทุนของประเทศสมาชิก
1.4 การเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรียิ่งขึ้น
1.4.1 เสริมสร้างความแข็งแกร่งของตลาดทุนอาเซียน
1.4.2 ยินยอมให้มีการเคลื่อนย้ายทุนอย่างเสรีมากขึ้น
1.5 การเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมืออย่างเสรี
1.5.1 อำนวยความสะดวกในการเดินทางของแรงงานฝีมือ
1.6 การรวมกลุ่มสาขาสำคัญของอาเซียน
1.6.1 สร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการรวมกลุ่มสาขาสำคัญ
1.6.2 เร่งรัดการรวมกลุ่มสาขาสำคัญโดยประเทศสมาชิกที่ได้ถูกระบุไว้
1.6.3 เพิ่มประสิทธิภาพของสาขาสำคัญ
1.7 ความร่วมมือด้านอาหาร เกษตร และป้าไม้
1.7.1 ยกระดับการค้าทั้งภายในและภายนอก และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันด้านอาหาร เกษตรและป่าไม้
1.7.2 ส่งเสริมความร่วมมือในการถ่ายโอนเทคโนโลยีระหว่างอาเซียนกับองค์กระดับนานาชาติ ระดับภูมิภาค ระดับภาคเอกชน
1.7.3 ส่งเสริมสหกรณ์การเกษตรของอาเซียน
2. การนำไปสู่ภูมิภาคที่มีความสามารถในการแข่งขันสูง
2.1 นโยบายการแข่งขัน ส่งเสริมให้มีนโยบายการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
2.2 การคุ้มครองผู้บริโภค มาตรการการแข่งขันทั้งหลายต้องตระหนักถึงความสำคัญของผู้บริโภค
2.3 สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา
2.3.1 นโยบายทรัพย์สินทางปัญญาต้องผลักดันไปสู่การสร้างสรรค์ทางวัฒนธรรมสติปัญญา และศิลปะ การใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
2.3.2 นโยบายทรัพย์สินทางปัญญา ต้องก่อให้เกิดวัฒนธรรมแห่งการสร้างสรรค์และการประดิษฐ์ที่รุ่งโรจน์
2.3.3 สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ปฏิบัติตามแนวทางแผนปฏิบัติด้านสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาของอาเซียน (ASEAN IPR Action Plan 2004-2010) และแผนงานความร่วมมืออาเซียนด้านลิขสิทธิ์ (ASEAN Cooperation on Copyrights)
2.4 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
2.4.1 ความร่วมมือในด้านการขนส่ง เพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่ง
2.4.2 ส่งเสริมและอำนวยความสะดวกในการขนส่ง
2.4.3 อำนวยความสะดวกตามแผนปฏิบัติการด้านการขนส่งอาเซียน (ATAP 2005-2010)
2.4.4 เชื่อมโยงการขนส่งทางบกในกลุ่มประชาคมอาเซียน
2.4.5 รวมกลุ่มการขนส่งทางน้ำและทางอากาศ
2.4.6 สร้างความปลอดภัยและเชื่อมโยงต่อกันในด้านพื้นฐานสารสนเทศ (Information Infrastructure)
2.4.7 พัฒนาการเชื่อมต่อความเร็วสูง (Hi-Speed inter-Connection) ระหว่างโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Infrastructure : NII) ของทุกประเทศสมาชิกอาเซียน
2.4.8 ความร่วมมือด้านพลังงาน
2.4.9 พัฒนาโครงสร้างเครือข่ายระบบสายส่งไฟฟ้าอาเซียน
2.4.10 ร่วมกันใช้มาตรการที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาอุณหภูมิโลก
2.4.11 ความร่วมมือในด้านการทำเหมืองแร่
2.4.12 ร่วมกันสนับสนุนด้านการเงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
2.5 ภาษีอากร ดำเนินการให้ประเทศสมาชิกทำตามข้อตกลงว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อน
2.6 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ วางนโยบายและโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายสำหรับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ภายในอาเซียน
3. การพัฒนาเศรษฐกิจอย่าเท่าเทียมกัน
3.1 การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยพัฒนาอย่างเหมาะสมและหลากหลายของประเทศสมาชิก พัฒนาขีดความสามารถในแข่งขัน สร้างความยืดหยุ่นในธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมเพื่อรองรับผลกระทบที่จะเกิดจากเศรษฐกิจมหภาค ตลอดจนเพิ่มการมีส่วนร่วมของรัฐวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาภูมิภาคอาเซียนในภาพรวม
3.2 ความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน
3.2.1 ร่วมกันในด้านการพัฒนาในด้านเทคนิค
3.2.2 ริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative For ASEAN Integration : IAI)
3.2.3 ริเริ่มปรับตัวเพื่อรองรับความท้าทายจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน
4. การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก
4.1 แนวทางการสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกันต่อปฏิสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจกับภายนอก ทั้งในด้านการจัดทำเขตการค้าเสรี (FTAs) และความตกลงว่าด้วยหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (CEPs)
4.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในเครือข่ายอุปทานของโลก
การเร่งรัดการรวมกลุ่ม 12 สาขาสำคัญของอาเซียน (12 Priority Integration Sectors)
12 สาขาสำคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกเป็นผู้ประสานงานหลักดังนี้
ตารางที่ 10 ตารางแสดงสาขาสำคัญของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกเป็นผู้ประสานงานหลัก
ลำดับที่ สาขา ประเทศผู้ประสานงาน
1 ผลิตภัณฑ์ไม้ อินโดนีเซีย
2 ผลิตภัณฑ์ยานยนต์
3 ผลิตภัณฑ์ยาง มาเลเซีย
4 ผลิตภัณฑ์สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
5 ผลิตภัณฑ์เกษตร พม่า
6 ผลิตภัณฑ์ประมง
7 อิเล็กทรอนิกส์ ฟิลิปปินส์
8 เทคโนโลยีสารสนเทศ สิงคโปร์
9 สุขภาพ
10 การท่องเที่ยว ไทย
11 การบิน
12 โลจิสติกส์ เวียดนาม

วัตถุประสงค์ในการรวมกลุ่ม 12 สาขาสำคัญของอาเซียนทางเศรษฐกิจ
1. เพื่อส่งเสริมให้มีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการในสาขาต่าง ๆ ได้อย่างเสรี
2. ส่งเสริมการเป็นฐานการผลิตร่วมของอาเซียน
3. สร้างการรวมกลุ่มด้านการผลิตและการจัดซื้อวัตถุดิบ
4. เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การดำเนินการภายใต้แผนงานการรวมกลุ่ม 12 สาขาสำคัญ มีดังนี้
1. การเร่งรัดลดภาษีสินค้าใน 9 สาขาหลัก ซึ่งได้แก่ ผลิตภัณฑ์เกษตร ผลิตภัณฑ์ประมง ผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์ยาง ผลิตภัณฑ์สิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ เทคโนโลยีสารสนเทศและสาขาสุขภาพ โดยเร่งรัดจากเดิม คือ
1.1 ประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศ กำหนดการเร่งลดภาษีให้เสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007) จากเดิม 1 มกราคม พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010)
1.2 ประเทศสมาชิกใหม่ (CLMV) กำหนดการเร่งลดภาษีให้เสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2555 (ค.ศ.2012) จากเดิม 1 มกราคม พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015)
2. การขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี อาเซียนได้จัดทำหลักเกณฑ์ (Criteria) การจำแนกมาตรการที่มิใช่ภาษีของประเทศสมาชิกแล้ว ซึ่งใช้พื้นฐานหลักเกณฑ์การจำแนกตาม WTO และได้เห็นชอบแผนงานการขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษี (Work Programme on Elimination of NTBs) ซึ่งประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 5 ประเทศ มีกำหนดที่จะขจัดมาตรการที่มิใช่ภาษีทั้งหมดภายในปี พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010) สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ภายในปี พ.ศ.2555 (ค.ศ.2012)และประเทศ CLMV ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015)
3. การปรับปรุงว่าด้วยกฎแหล่งกำเนิดสินค้าให้มีความโปร่งใส มีมาตรฐานที่เป็นสากล และอำนวยความสะดวกให้แก่ภาคเอกชนมากขึ้น ขณะนี้นอกเหนือจากกฎ 40% Value-added content แล้ว อาเซียนได้พัฒนากฎแหล่งกำเนิดสินค้าโดยวิธีแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial transformation) เพื่อเป็นทางเลือกในการคำนวณแหล่งกำเนิดสินค้าให้กับสินค้าสิ่งทอ อะลูมิเนียม เหล็ก และผลิตภัณฑ์ไม้แล้ว และได้เริ่มใช้วิธีการคิดคำนวณแหล่งกำเนิดสินค้าแบบสะสมบางส่วน (Partial Cumulation ROO) เพื่อให้การคำนวณสัดส่วนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตมีความยืดหยุ่นมากขึ้นโดยสินค้ามีสัดส่วนการผลิตภายในขั้นต่ำร้อยละ 20 สามารถนำมานับรวมในการคิดแหล่งกำเนิดสินค้าแบบสะสมของอาเซียน เพื่อรับสิทธิประโยชน์ของอาฟตา
4. การค้าบริการ อาเซียนได้เห็นชอบเป้าหมายการเปิดการค้าเสรีสาขาบริการสำคัญ 5 สาขา (Priority Services Sectors) ได้แก่ สาขาการท่องเที่ยว E-ASEAN (เทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์) สาขาสุขภาพและสาขาการบินภายในปี พ.ศ.2553 (ค.ศ.2010) ส่วนสาขาโลจิสติกส์ ภายในปีพ.ศ.2555 (ค.ศ.2012) สำหรับสาขาบริการอื่น ๆ ได้กำหนดเป้าหมายไว้ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) ซึ่งจะได้เร่งเจรจาและจัดทำข้อผูกพันในการเปิดตลาดในแต่ละรอบของการเจรจาทั้งในด้านการเข้าสู่ตลาด (Market Access) และการให้การปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment : NT)
อาเซียนได้ดำเนินการเจรจาลดข้อจำกัดด้านการค้าบริการระหว่างกันและการจัดทำข้อผูกพันเปิดตลาดมาแล้วทั้งสิ้นรวม 7 ชุด โดยรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนได้ลงนามพิธีสารอนุมัติข้อผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการ ชุดที่ 7 เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552 (ค.ศ.2009) ในช่วงการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ซึ่งในส่วนของไทยได้ผูกพันเปิดตลาดทั้งหมด 143 รายการ ครอบคลุมสาขาบริการหลัก อาทิเช่น บริการธุรกิจ (เช่น วิชาชีพวิศวกรรม สถาปัตยกรรม และบัญชี เป็นต้น) คอมพิวเตอร์และการสื่อสาร การก่อสร้าง การจัดจำหน่าย (เช่น บริการค้าส่งเครื่องกีฬา และ บริการแฟรนไชส์ เป็นต้น) การศึกษาในทุกระดับ บริการด้านสุขภาพ บริการด้านสิ่งแวดล้อมและบริการท่องเที่ยว เป็นต้น อย่างไรก็ดี ไทยยังคงสงวนเงื่อนไขต่าง ๆ ที่เป็นไปตามกรอบกฎหมายไทย เช่น อนุญาตให้ต่างชาติจากสมาชิกอาเซียนมีสิทธิถือหุ้นในนิติบุคคลที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยได้ไม่เกินร้อยละ 49 ขณะนี้อาเซียนอยู่ระหว่างการเจรจาจัดทำข้อผูกพันเปิดตลาดชุดที่ 8 ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2553 (ค.ศ.2010) และยังคงต้องเจรจาเพื่อทยอยเปิดเสรีสาขาบริการอื่น ๆ เพิ่มเติมจนบรรลุเป้าหมายการเปิดเสรีอย่างครบถ้วนในปี 2558 (ค.ศ.2015)
5. การลงทุน ส่งเสริมการลงทุนภายในภูมิภาคโดยการร่วมลงทุนในสาขาอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพ และสร้างเครือข่ายด้านการลงทุนอาเซียน ขณะนี้ได้จัดทำรายชื่อเขตการส่งเสริมการลงทุนพิเศษ และเขตนิคมอุตสาหกรรมในอาเซียนแล้ว เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงด้านการผลิตและการใช้วัตถุดิบภายในภูมิภาค
6. การอำนวยความสะดวกด้านพิธีการด้านศุลกากร อาเซียนได้จัดทำความตกลงว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียว เมื่อปี 2548 (ค.ศ.2005) ซึ่งกำหนดให้สมาชิกอาเซียเดิม 6 ประเทศพัฒนาระบบ National Single Window : NSW ให้แล้วเสร็จภายในปี 2551(ค.ศ.2008) และประเทศ CLMV ภายในปี 2555(ค.ศ.2012) เพื่อเชื่อมโยงเป็นระบบ ASEAN Single Window ต่อไป ในส่วนของไทย กรมศุลกากรได้ดำเนินการระบบ NSW ในระยะที่ 1 โดยให้บริการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกรมศุลกากร ผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศและธนาคาร (G2B และ B2B) แบบไร้เอกสารทั่วประเทศตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ.2551 (ค.ศ.2008) และการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างกรมศุลกากรกับหน่วยงานที่ออกใบอนุญาตและใบรับรอง (G2G) 3 แห่ง ได้แก่ กรมการค้าต่างประเทศ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และกรมโรงงานอุตสาหกรรม ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการในระยะที่ 2
7. การพัฒนามาตรฐานและความสอดคล้องของผลิตภัณฑ์ ได้จัดทำมาตรฐานการยอมรับร่วมสำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าแล้ว ในระยะต่อไปจะพัฒนาให้ครอบคลุมสินค้าอื่น ๆ ภายใต้การรวมกลุ่มสาขาสำคัญด้วย เช่น ผลิตภัณฑ์ไม้ เครื่องมือแพทย์ ยาสมุนไพรและผลิตภัณฑ์สุขภาพ เป็นต้น
8. การเคลื่อนย้ายของนักธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบวิชาชีพ แรงงานฝีมือและผู้มีความสามารถพิเศษ อยู่ระหว่างการพัฒนาจัดทำASEAN Business Card เพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่นักธุรกิจภายในภูมิภาค และเร่งพัฒนามาตรฐานการยอมรับร่วมสำหรับบุคลากรในสาขาวิชาชีพต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้ได้ทำข้อตกลงยอมรับร่วมในสาขาวิชาวิศวกรรม สาขาแพทย์ พยาบาล สถาปนิก นักบัญชีและคุณสมบัติผู้สำรวจแล้ว และอยู่ในระหว่างการพัฒนาในสาขาวิชาชีพอื่น ๆ เช่น นักกฎหมาย เป็นต้น โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่ออำนวยความสะดวกในการประกอบวิชาชีพของผู้เชี่ยวชาญและแรงงานฝีมือภายในอาเซียน
9. การอำนวยความสะดวกทางด้านการเดินทางภายในอาเซียน อยู่ระหว่างการปรับประสานกระบวนการ/พิธีการในการตรวจลงตราให้กับนักเดินทางต่างชาติที่เดินทางเข้ามาในอาเซียน รวมทั้งการยกเว้นการตรวจลงตราให้กับผู้เดินทางสัญชาติอาเซียนที่เดินทางภายในอาเซียน
โครงสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
โครงสร้างประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อดำเนินการตามยุทธศาสตร์ไปสู่การเป็นประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) ดังนี้
1. มีตลาดและฐานการผลิตเดียว
1.1 เคลื่อนย้ายสินค้าเสรี
-ลดอุปสรรคด้านภาษีและมาตรการที่มิใช่ภาษี
-อำนวยความสะดวกด้านพิธีการศุลกากร
-กำหนดมาตรฐาน/ความสอดคล้องด้านพิธีการศุลกากร
1.2 เคลื่อนย้ายบริการเสรี
-เปิดตลาดบริการโดยไม่มีเงื่อนไข
-ปฏิบัติอย่างเท่าเทียมในกลุ่มสมาชิก
-ขจัดอุปสรรคทางการค้า
-จัดทำความตกลงและยอมรับในบริการวิชาชีพ
-จัดทำโครงการและแลกเปลี่ยนบุคลากรวิชาชีพ
1.3 เคลื่อนย้ายการลงทุนเสรี
-เปิดเสรีในทุก ๆ อุตสาหกรรม
-บริการที่เกี่ยวเนื่องกับภาคอุตสาหกรรม
-สร้างความโปร่งใสในกฎระเบียบและขั้นตอนการลงทุน
-สนับสนุนการส่งเสริมการลงทุนร่วมกัน
1.4 เคลื่อนย้ายเงินทุนเสรียิ่งขึ้น
-ผ่อนคลายข้อกีดกันการไหลเวียนเงินทุน
-ส่งเสริมการเชื่อมโยงตลาดหลักทรัพย์
1.5 เคลื่อนย้ายแรงงานทักษะเสรี
-ยกเลิกการกีดกันการจ้างงาน
-ปรับมาตรฐานการศึกษาและการฝึกงาน
-สร้างความเข้าใจร่วมกันด้านการฝึกอบรมระดับอาชีวะ
2. มีความสามารถแข่งขันสูง
2.1 กรอบนโยบายการแข่งขัน
-ต่อต้านพฤติกรรมที่ต่อต้านการแข่งขัน
-สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายองค์กรดูแลการแข่งขัน

2.2 ทรัพย์สินทางปัญญา
-ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
-ให้ความรู้ด้านลิขสิทธิ์
-เป็นพันธมิตรกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง
2.3 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
-ด้านการขนส่ง
-ด้านข้อมูลข่าวสาร
-ด้านพลังงาน
-ด้านการเงิน
2.4 ภาษี
-นโยบายภาษีร่วมหลีกเลี่ยงการเก็บภาษีซับซ้อน
-ความตกลงว่าด้วยภาษีซับซ้อนทางอาเซียน
2.5 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
-ปรับประสานกรอบกฎหมายเกี่ยวกับการทำสัญญาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์
-วิธีการระงับข้อพิพาท
3. สร้างความเท่าเทียมในการพัฒนาเศรษฐกิจระหว่างสมาชิกอาเซียน
3.1 ลดช่องว่างการพัฒนาเศรษฐกิจ
-จัดทำโครงการเพื่อลดช่องว่างระหว่างอาเซียนเดิมและสมาชิกใหม่ (CLMV) ภายใต้
โครงการ IAI
3.2 พัฒนา SMEs
-พัฒนาส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
4. ส่งเสริมการรวมกลุ่มอาเซียนเข้ากับประชาคมโลก
4.1 ประสานการดำเนินงานนโยบายเศรษฐกิจกับปะเทศนอกอาเซียน
-สร้างแนวทางการเจรจาเขตการค้าเสรีในภูมิภาค
-เสริมสร้างศักยภาพในการเจรจาเขตการค้าเสรีสองฝ่าย
-กำหนดท่าทีร่วมต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
4.2 เข้าร่วมเครือข่ายการผลิตและจัดจำหน่าย
-สร้างมูลค่าเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิตตลอดจนการวิจัยและพัฒนาเชิงพาณิชย์
-ใช้แนวทางการปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการผลิตและการตลาด

กุญแจสำคัญสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015)
1. เจตนารมณ์ทางการเมือง
2. ความร่วมมือในการเคลื่อนย้ายทรัพยากร
3. การดำเนินการตามพันธกรณี
4. การเสริมสร้างขีดความสามารถและสร้างองค์กรให้เข้มแข็ง
5. การหารือระหว่างภาครัฐและเอกชน
กลยุทธ์ที่สำคัญในการดำเนินงาน
1. การรวมกลุ่มสาขาสำคัญ (12 สาขา)
2. พัฒนาธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
3. พัฒนาทรัพยากรบุคคล
4. วิจัยและพัฒนา
ปัจจัยแห่งความสำเร็จของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในระดับภูมิภาคจะสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ ปัจจัย คือ
1. ประเทศในกลุ่มสมาชิกต้องยึดมั่นในเป้าหมายร่วมกันอย่างจริงจังยอมเสียสละผลประโยชน์ของแต่ละประเทศสมาชิก เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมในระดับกลุ่มภูมิภาค
2. โครงสร้างพื้นฐานภายในภูมิภาค ได้แก่การเชื่อมโยงการสื่อสาร การคมนาคม การขนส่งเข้าด้วยกันเพื่อ
2.1 เคลื่อนย้ายสินค้าและบริการ
2.2 เคลื่อนย้ายผู้คน
2.3 อำนวยความสะดวกจุดผ่านแดน
2.4 สร้างความร่วมมือในสาขาอื่น ๆ เช่น ด้านพลังงาน ด้านการศึกษา เป็นต้น
3. นโยบายร่วมระดับภูมิภาค โดยเฉพาะนโยบายในด้านเศรษฐกิจ เพื่อเพิ่มความสามารถในการต่อรอง โดยแต่ละประเทศจะต้องให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกฎเกณฑ์ กฎระเบียบ และกฎหมายให้สอดคล้องกับข้อตกลงของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
4. กลไกการตัดสินใจ โดยประเทศสมาชิกจะต้องพิจารณาปรับปรุงรูปแบบการตัดสินใจจากระบบฉันทามติ (Consensus) เป็นระบบอื่น ๆ เช่น ระบบเสียงข้างมาก (Majority Vote) เป็นต้น
5. การสร้างสังคมกฎระเบียบ โดยประเทศสมาชิกจำเป็นต้องพัฒนาไปสู่สังคมกฎระเบียบ (Rule Based Society) และสร้างนโยบายการค้าและการลงทุน ให้สอดประสานในระบบภูมิภาค โดยใช้จุดแข็ง (Strength) ของแต่ละประเทศสมาชิกให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การขยายเขตการค้าเสรี (Free Trade Area) และคู่เจรจา (Dialogue Partners of ASEAN)
นอกจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะมีเขตการค้าเสรีอาเซียนแล้วยังจำเป็นจะต้องเปิดเขตการค้าเสรี (FTA) กับประเทศคู่เจรจาอื่น ๆ นอกเขตภูมิภาคให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้อาเซียนมีความเข้มแข็ง และสร้างอาเซียนให้เป็นศูนย์กลางการรวมกลุ่มในภูมิภาคนี้ ปัจจุบันอาเซียนได้มีความตกลง FTA ในกรอบต่าง ๆ ดังนี้
1. คู่เจรจาปัจจุบันได้แก่กรอบอาเซียน+3 (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ซึ่งเรียกว่า East Asia Free Trade Area หรือ EAFTA
2. คู่เจรจาในกรอบปัจจุบันอาเซียน+6 (จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย) เรียกว่า Comprehensive Economic Partnership in East Asia หรือ CEPEA
3. คู่เจรจาประเทศอื่น คือ สหรัฐอเมริกา แคนนาดา รัสเซีย และกลุ่มประเทศยุโรป (EU)
4. ความร่วมมือบางสาขากับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Program-UNDP) และประเทศปากีสถาน
5. ความร่วมมือกับกลุ่มภูมิภาคอื่น ได้แก่ กลุ่มอ่าวรัฐอาหรับ (Gulf Cooperation Council-GCC) ประกอบด้วยประเทศ บาร์เรน กาตาร์ คูเวต โอมาน ซาอุดิอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรดส์ และกลุ่ม MERCOSUR หรือตลาดร่วมอเมริกาใต้ ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศอาเจนติน่า ปารากวัย บราซิล อุรุกวัย และเวเนซูเอล่า
6. สมาคมความร่วมมือแห่งภูมิภาคเอเชียใต้ (South Asian for Regional Cooperation-SAARE)
ซึ่งมี บังกาลาเทศ ภูฐาน มัลดีฟส์ เนปาล ปากีสถาน และศรีลังกา เป็นสมาชิก
ตารางที่ 11 ตารางสรุปผลการเจรจาระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจา อาเซียน+3และอาเซียน+6
กรอบการเจรจา ว่าด้วยความตกลงเรื่อง วันที่ลงนาม วันที่มีผลใช้บังคับ
อาเซียน-จีน การค้าสินค้า
การค้าบริการ ชุดที่ 1
การลงทุน 29 พ.ย.47
14 ม.ค.50
5 ส.ค.52 20 ก.ค.48
1 ก.ค.50
ก.พ.53
อาเซียน-ญี่ปุ่น ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) 11 เม.ย.51 1 มิ.ย.52
อาเซียน-เกาหลีใต้ การค้าสินค้า 24 ส.ค.49 (ไทยเข้าร่วมลงนามในภายหลังเมื่อวันที่ 27 ก.พ.52) 1 พ.ค.52 มีผลบังคับใช้กับไทย 1 ต.ค.52
การค้าบริการ 21 พ.ย.50(ไทยเข้าร่วมลงนามในภายหลังเมื่อวันที่ 27 ก.พ.52) มีผลบังคับใช้กับไทย 1 มิ.ย.52
การลงทุน 2 มิ.ย.52 31 ต.ค.52
อาเซียน-อินเดีย การค้าสินค้า 13 ส.ค.52 ม.ค.53
อาเซียน - ออสเตรเลีย สินค้า/บริการ/การลงทุน 27 ก.พ.52 ม.ค.53
นิวซีแลนด์ - - -
แนวทางการปรับตัวการใช้ประโยชน์จากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของอาเซียน
การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ นอกจากจะช่วยเสริมสร้างความสามารถของประเทศภายในกลุ่มแล้ว ยังเป็นการเปิดโอกาสทางด้านการค้าและการลงทุนภายในภูมิภาคให้กว้างขวางขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่มีการลดอุปสรรคต่าง ๆ ลงเพื่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุนและแรงงานได้อย่างเสรี ย่อมส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นและหลีกเลี่ยงไม่พ้นที่ผู้ประกอบการภายในประเทศจะต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น
ดังนั้น การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยหลีกเลี่ยง-บรรเทาผลกระทบในเชิงลบที่อาจจะเกิดขึ้น รวมถึงช่วยให้สามารถใช้ประโยชน์จากโอกาสที่มีอยู่ได้อย่างเต็มที่ โดยแนวทางในการปรับตัวที่ภาคเอกชนสามารถนำมาใช้อาจพิจารณาได้ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ อาทิ
การปรับตัวในเชิงรุก ควรปรับตัวในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ศึกษาแสวงหาแหล่งวัตถุดิบใน AEC นำเข้าวัตถุดิบ สินค้ากึ่งสำเร็จรูปจากแหล่งผลิตใน AEC ที่มีความได้เปรียบด้านราคา และคุณภาพ
2. การศึกษารสนิยมความต้องการใน AEC เพิ่มการขายในตลาดใหญ่ขึ้น และใช้ประโยชน์ Economy of scale
3. ดูความเป็นไปเรื่องการย้ายฐานผลิต มีความสามารถย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศที่เหมาะสมเป็นแหล่งผลิต
4. หันมามอง CLMV โดยวิสัยทัศน์ใหม่ การใช้ CLMV เป็นฐานการส่งออกไปนอก AEC เพื่อใช้ประโยชน์จากสถานะ Least Developed Countries : LDCs
5. พัฒนาและปรับตัวระบบต่าง ๆ ของบริษัทให้ใช้ประโยชน์โลจิสติกส์ได้เต็มที่ การพัฒนาระบบ โลจิสติกส์ในภูมิภาค ทำให้สะดวกและถูกลง
6. ศึกษา เสาะหาความเป็นไปได้ การตั้งธุรกิจ ใช้แรงงานจาก AEC ฐานธุรกิจอยู่ที่ใดในอาเซียนซึ่งสามารถใช้แรงงานจาก AEC ทำให้แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานฝีมือ
7. การเปิดเจาะตลาดคู่ค้าของอาเซียนเพื่อสร้างความได้เปรียบทางภาษีนำเข้ากว่าคู่แข่งอื่นนอกอาเซียน
การปรับตัวในเชิงรับ ควรปรับตัวในเรื่องต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. การเรียนรู้คู่แข่งขัน เมื่อเกิดคู่แข่งใหม่จากอาเซียน
2. ไม่ละเลยการลดต้นทุน ต้นทุนของคู่แข่งอาจต่ำลงเช่นกัน
3. เร่งเสริมจุดแข็ง ลดจุดอ่อน คู่แข่งจะเข้ามาถึงเขตแดนเมื่อไรก็ได้
4. ผูกมัดใจลูกค้าในทุกรูปแบบ บริษัทที่อยู่ในอุตสาหกรรมรองรับ หรือเคยผลิตส่งบริษัทแม่อาจถูกแย่งลูกค้าโดยคู่แข่งในประเทศอื่นที่ได้เปรียบกว่าในการเป็นฐานการผลิต
5. ต้องคิด “ทำอย่างไรให้เขาอยู่ (กับเรา)” เพื่อป้องกันการถูกแย่งแรงงานฝีมือ
6. เรียนรู้คู่แข่งทุกคน วิเคราะห์ SWOT นอกเหนือจากคู่แข่ง 9 ประเทศอาเซียนแล้ว ยังมีเพิ่มอีก 3 หรือ 6 ที่ต้องเรียนรู้