วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

อาเซี่ยนบทที่ 9





บทที่ 9

ประชาคมสังคม - วัฒนธรรมอาเซียน

(ASEAN Socio – Cultural Community : ASCC )

ความเป็นมา

ผู้นำอาเซียนได้เห็นชอบต่อปฏิญญาอาเซียนคอนคอร์ด 2 (Bali Concord II) ที่ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2546 (ค.ศ. 2003) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) ซึ่งประชาคมอาเซียนประกอบด้วย 3 เสาหลัก คือ
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political – Security Community)
2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community)
3. ประชาคมสังคม - วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio – Cultural Community)
ทั้งสามเสาหลักมีส่วนเกี่ยวข้องและส่งเสริมซึ่งกันและกันเพื่อวัตถุประสงค์ในทางที่จะทำให้เกิดสันติภาพที่ยั่งยืน ความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองในภูมิภาค
การประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 12 ที่เมืองเซบู ประเทศฟิลิปปินส์ ได้เน้นในเรื่องการจัดตั้งประชาคมอาเซียนให้เร็วขึ้นโดยจะเร่งรัดให้จัดตั้งให้เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ. 2015) โดยได้ลงนามในปฏิญญาเซบูและการประชุมสุดยอดครั้งที่ 13 ที่สิงคโปร์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007) ได้เห็นพ้องให้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคม - วัฒนธรรมอาเซียน
เป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมสังคม – วัฒนธรรมอาเซียน มีดังนี้
1. เพื่อมุ่งหวังให้เป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง
2. เป็นประชาคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
3. เพื่อให้ประชากรของอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีการพัฒนาในทุกด้านเป็นการยกระดับ คุณภาพชีวิต ของประชาชน
4. ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
5. ส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียน (ASEAN Identity)
คุณลักษณะและองค์ประกอบของ ASCC มีดังนี้
1. ประชาคมสังคม - วัฒนธรรมอาเซียน เป็นประชาคมอาเซียนที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลางมีเอกภาพในหมู่ประชาชาติและประชาคมอาเซียน
2. เป็นประชาคมสังคม - วัฒนธรรมอาเซียนที่ตอบสนองความต้องการของภูมิภาคในการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชากรอาเซียน
3. ประชาคมสังคม - วัฒนธรรมอาเซียนกำหนดลักษณะวัฒนธรรมที่ยืดหยุ่น ยึดมั่นในหลักการ มีความร่วมมือ มีความรับผิดชอบร่วมกัน ส่งเสริมการพัฒนามนุษย์และสังคม เคารพในเสรีภาพขั้นพื้นฐาน
4. ประชาคมสังคม - วัฒนธรรมอาเซียน เคารพในความแตกต่างทางวัฒนธรรมภาษา ศาสนา ของประชาชนอาเซียน
5. ประชาคมสังคม - วัฒนธรรมอาเซียน ให้ความสำคัญกับมิติทางสังคมในเรื่องการลดช่องว่างการ พัฒนา ขจัดความแตกต่างระหว่างประเทศสมาชิก
แผนงานจัดตั้งประชาคมสังคม - วัฒนธรรมอาเซียน (ASCC Blueprint)
จากการที่ได้ตั้งเป้าหมายในการจัดตั้งประชาคมสังคม - วัฒนธรรมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) จึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคม - วัฒนธรรมอาเซียน(ASEAN Socio-Cultural Community Blueprinty) ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน คือ
1. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2. การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
3. สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
4. ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
5. การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
6. การลดช่องว่างทางการพัฒนา
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
1. ให้ความสำคัญกับการศึกษา
1.1 ส่งเสริมและลงทุนในด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
1.2 การฝึกอบรมและการเสริมสร้างขีดความสามารถ
1.3 ส่งเสริมนวัตกรรมและการประกอบการ
1.4 ส่งเสริมการใช้ภาษาอังกฤษ เทคโนโลยีสารสนเทศและวิทยาศาสตร์เชิงประยุกต์
2. การลงทุนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
2.1 ดำเนินกิจกรรมเชิงยุทธศาสตร์และพัฒนาคุณสมบัติ
2.2 เตรียมความพร้อมที่ดีให้กับแรงงานอาเซียน
3. ส่งเสริมการจ้างงานที่เหมาะสม
3.1 ส่งเสริมให้รวมหลักการ การทำงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
3.2 ส่งเสริมให้รักษาสุขภาพและความปลอดภัยในการทำงาน
3.3 ส่งเสริมให้เกิดความมั่นใจในการบริหารกิจการ
4. ส่งเสริมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ICT)
4.1 สร้างขีดความสามารถโดยเพิ่มพูนความรู้ด้าน ICT ในอาเซียน
4.2 ส่งเสริมให้ใช้ ICT ในทุกระดับการศึกษา
4.3 ส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ ICT ทางอินเตอร์เน็ต
4.4 พัฒนาผู้ใช้แรงงานและกำลังคนเพื่อการมีวิชาชีพและความชำนาญด้าน ICT

5. การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเชิงประยุกต์
5.1 พัฒนานโยบายและกลไกเพื่อสนับสนุนความร่วมมือด้านการวิจัย
5.2 การพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
5.3 การถ่ายทอดเทคโนโลยีรวมทั้งในเชิงพาณิชย์
5.4 การจัดตั้งเครือข่ายสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยการมีส่วนร่วมของเอกชน
และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
6. เสริมสร้างทักษะในการประกอบการสำหรับสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุและผู้พิการ
6.1 เน้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมของสตรี เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาส
6.2 ส่งเสริมให้ตั้งเครือข่ายผู้ประกอบการสตรี
6.3 สร้างเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญในเรื่องประกอบการ
7. พัฒนาสมรรถนะของระบอบราชการ
7.1 เน้นการจัดตั้งระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส
7.2 มีความรับผิดชอบและความน่าเชื่อถือ
7.3 เพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
1. การขจัดความยากจน
1.1 แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมและเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
1.2 ดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษ (MDG) ของสหประชาชาติในด้านการกำจัดความยากจนและความหิวโหย
2. เครือข่ายความปลอดภัยทางสังคมและความคุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวของอาเซียนและโลกาภิวัตน์
2.1 ให้ประชาชนอาเซียนทุกคนมั่นใจในการได้รับสวัสดิการทางสังคม
2.2 คุ้มกันจากผลกระทบด้านลบจากการรวมตัวและโลกาภิวัตน์
2.3 พัฒนาคุณภาพและความยั่งยืนของการคุ้มครองทางสังคม
2.4 เพิ่มความสามารถในการจัดการความเสี่ยงทางด้านสังคม
3. ส่งเสริมความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหาร
3.1 ให้ความมั่นใจว่ามีอาหารเพียงพอสำหรับทุกคนในอาเซียน
3.2 ให้ความมั่นใจในความปลอดภัยด้านอาหารในประเทศสมาชิกอาเซียน
4. การเข้าถึงการดูแลสุขภาพและส่งเสริมการดำรงชีวิตที่มีสุขภาพ
4.1 สามารถเข้าถึงการรักษาสุขภาพและการบริการทางการแพทย์
4.2 มียาเพียงพอและราคาถูก
4.3 ส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนดำรงชีวิตที่มีสุขภาพสมบูรณ์


5. การเพิ่มศักยภาพในการควบคุมโรคติดต่อ
5.1 เสริมสร้างความพร้อมและประสิทธิภาพในระดับภูมิภาค
5.2 บูรณาการแนวทางการป้องกัน การเฝ้าระวัง การควบคุมและการสนองตอบที่ทันเวลาเพื่อแก้ไขปัญหาโรคติดต่อ
6. รับประกันอาเซียนที่ปลอดยาเสพติด
6.1 ลดการเสพยาเสพติดที่ผิดกฎหมายในหมู่ประชาชนอาเซียน
6.2 มีมาตรการป้องกันและส่งเสริมการเข้าถึงวิธีการรักษาและการฟื้นฟู
6.3 บริการหลังการบำบัดให้กลับเข้าสู่สังคมอย่างเต็มที่ โดยความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม
7. การสร้างรัฐที่พร้อมรับกับภัยพิบัติและประชาคมที่ปลอดภัย
7.1 เสริมสร้างกลไกให้มีประสิทธิภาพและสามารถป้องกันและลดการสูญเสียทั้งชีวิตและ ทรัพย์สินทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมของสมาชิกอาเซียน
7.2 ร่วมมือกันจัดการภัยพิบัติ โดยใช้ความพยายามของรัฐบาลและความร่วมมือในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
1. ส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิและสวัสดิการสำหรับ สตรี เด็ก ผู้สูงอายุและผู้พิการ
1.1 ปกป้องผลประโยชน์ สิทธิ รวมทั้งส่งเสริมโอกาสอย่างเท่าเทียม
1.2 ยกระดับคุณภาพชีวิต มาตรฐานการดำรงชีพสำหรับสตรี เด็ก ผู้สูงอายุและผู้พิการ
2. การคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิแรงงานและการโยกย้ายถิ่นฐาน
2.1 ส่งเสริมนโยบายให้แรงงานย้ายถิ่นฐาน มีความเหมาะสมและได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
2.2 ดำเนินการให้สอดคล้องกับปฏิญญาอาเซียน ว่าด้วยการคุ้มครองและส่งเสริมสิทธิของ แรงงานในการโยกย้ายถิ่นฐาน
3. ส่งเสริมความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
3.1 ส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจรับผิดชอบต่อสังคม
3.2 ภาคธุรกิจต้องดำเนินการ เพื่อให้มีส่วนในการสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเทศ สมาชิกอาเซียน
ส่งเสริมความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
1. การจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก
1.1 แก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมของโลก โดยปราศจากผลกระทบต่อหลักการแข่งขัน
1.2 การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมโดยอยู่บนพื้นฐานของหลักความเท่าเทียมยืดหยุ่นมี
ประสิทธิภาพ
1.3 การรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างโดยสะท้อนถึงสภาพการพัฒนาทางเศรษฐกิจ และสังคมของประเทศที่แตกต่างกัน
2. การจัดการและการป้องกันปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อมข้ามแดน
ดำเนินการและส่งเสริมความร่วมมือระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศเพื่อต่อต้านด้านปัญหามลพิษจากสิ่งแวดล้อม ดังต่อไปนี้
2.1 มลพิษจากหมอกควันข้ามแดน
2.2 มลพิษจากของเสียที่มีพิษข้ามแดน
3. ส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมและการมีส่วนร่วมของประชาชน
3.1 ส่งเสริมให้อาเซียนเขียวสะอาด มั่นคงด้วยประเพณีวัฒนธรรม
3.2 ค่านิยมและธรรมเนียมปฏิบัติของประชาชน สอดคล้อง กลมกลืนและประสานกับ ธรรมชาติ
3.3 ส่งเสริมให้ประชาชนอาเซียนมีความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมทุกชาติพันธุ์ทางสิ่งแวดล้อม
3.4 มีความตั้งใจและความสามารถในการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของภูมิภาค
4. ส่งเสริมคุณภาพมาตรฐานการดำเนินชีวิตในเมืองต่าง ๆ ของอาเซียนและเขตเมือง
4.1 รับประกันว่าเขตเมืองและชุมชนในอาเซียนมีสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
4.2 รองรับความต้องการของประชาชนในด้านสังคมและเศรษฐกิจได้
5. ส่งเสริมเทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อม
5.1 ใช้เทคโนโลยีด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อบรรลุเป้าหมายและเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
5.2 ใช้เทคโนโลยีให้ผลกระทบน้อยที่สุดต่อสิ่งแวดล้อม
6. การทำการประสานกันเรื่องนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูล
6.1 ส่งเสริมการประสานนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมและฐานข้อมูลอย่างเหมาะสม
6.2 คำนึงถึงสภาวะแวดล้อมระดับชาติของรัฐสมาชิก
6.3 สนับสนุนการบูรณาการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเป้าประสงค์ด้านเศรษฐกิจของภูมิภาค
7. ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรชายฝั่งและทรัพยากรทางทะเลอย่างยั่งยืน
7.1 สร้างหลักประกันเรื่องสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่งว่าจะได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
7.2 ระบบนิเวศ พืชและพื้นที่ดั้งเดิมได้รับการคุ้มครอง
7.3 การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ได้รับการจัดการอย่างยั่งยืน
7.4 ปลูกฝั่งให้ประชาชนอาเซียนมีความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางทะเลและชายฝั่ง



8. ส่งเสริมการจัดการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่าง ยั่งยืน
8.1 ให้ความมั่นใจว่าความหลากหลายทางชีวภาพที่สมบูรณ์ของอาเซียนจะได้รับการรักษาและจัดการอย่างยั่งยืน
8.2 เสริมสร้างสภาวะที่ดีทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
9. ส่งเสริมความยั่งยืนของทรัพยากรน้ำจืด
9.1 ให้ความเชื่อมั่นในการเข้าถึงทรัพยากรน้ำจืดอย่างเท่าเทียมกัน
9.2 รักษาคุณภาพและปริมาณให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชนของประเทศอาเซียน
10. การตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศและการจัดการต่อผลกระทบ
10.1 ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในระดับภูมิภาคและระหว่างประเทศ
10.2 ร่วมกันแก้ผลกระทบต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมใน ประเทศสมาชิกอาเซียน
10.3 แก้ไขปัญหาโดยใช้หลักความเป็นธรรม ความยืดหยุ่น มีประสิทธิภาพในการรับผิดชอบ ร่วมกัน
11. ส่งเสริมการบริหารจัดการป่าไม้ที่ยั่งยืน (SFM)
11.1 ส่งเสริมการบริการจัดการทรัพยากรป่าไม้ในภูมิภาคอาเซียนอย่างยั่งยืน
11.2 ขจัดกิจกรรมที่ไม่ยั่งยืน
11.3 ดำเนินการปราบปรามการลักลอบการตัดไม้ที่ผิดกฎหมายและการค้าที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ
11.4 เสริมสร้างขีดความสามารถการถ่ายโอนเทคโนโลยี
11.5 ส่งเสริมความตระหนักในการรับรู้
11.6 ส่งเสริมการบังคับใช้กฎหมายและธรรมมาภิบาล
การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
1. ส่งเสริมความตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนและความรู้สึกของการเป็นประชาคม
1.1 สร้างความรู้สึกความเป็นเจ้าของ
1.2 รวมกันเป็นเอกภาพท่ามกลางความหลากหลาย
1.3 ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในเรื่องวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ศาสนา และอารยธรรม
2. การอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน
2.1 ส่งเสริมการสงวนและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียน
2.2 สร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนว่าจะส่งเสริมความตระหนักรับรู้และความเข้าใจของประชาชนเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ที่เป็นเอกลักษณ์ของภูมิภาค

2.3 สร้างความตระหนักรับรู้ถึงความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมและความแตกต่างทางวัฒนธรรมของประเทศสมาชิก
2.4 ปกป้องความเป็นเอกลักษณ์ของมรดกทางวัฒนธรรมของอาเซียนในภาพรวม
3. ส่งเสริมการสร้างสรรค์ทางด้านวัฒนธรรมและอุตสาหกรรม
3.1 ส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียนและการดำรงอยู่ร่วมกันของอาเซียน
3.2 ส่งเสริมและร่วมมือกันในอุตสาหกรรมด้านวัฒนธรรม
การลดช่องว่างทางการพัฒนา
ลดช่องว่างการพัฒนาโดยการส่งเสริมความร่วมมือ การพัฒนาสังคมระหว่างประเทศสมาชิกเก่า 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) และประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (CLMV) ในพื้นที่ของภูมิภาคอาเซียนที่ถูกทอดทิ้งและด้อยพัฒนา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น