วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของอาเซี่ยน




ประวัติความเป็นมาของอาเซียน (ASEAN)

ความเป็นมา

อาเซียน (Association of Southeast Asian Nations – ASEAN) ได้ถือกำเนิดครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2504 (ค.ศ.1961) ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของสามประเทศทุนเสรีนิยมที่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้นำค่ายทุนเสรีนิยม วัตถุประสงค์เพื่อต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีประเทศสหภาพโซเวียตเป็นผู้นำ ประเทศที่ได้รับรวมกลุ่มกันได้แก่ ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย และประเทศมาเลเซีย เรียกชื่อกลุ่มว่าสมาคมอาสา หรือ Association of Southeast Asia สมาคมอาสาได้ดำเนินการเพียง 2 ปีก็ต้องสลายไป ทั้งนี้เพราะมีปัญหาระหว่างประเทศและภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิก
ต่อมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 (ค.ศ.1967) ประเทศต่าง ๆในภูมิภาค ได้แก่ ประเทศไทย ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศมาเลเซีย ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศสิงคโปร์ ได้เริ่มฟื้นฟูสัมพันธภาพระหว่างประเทศขึ้นอีกครั้ง โดยหาลู่ทางจัดตั้งองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เรียกว่า “สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “Association of Southeast Asian Nations” (ASEAN) โดยพันเอกพิเศษ ดร.ถนัด คอมันตร์ รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศไทยในขณะนั้น ได้ร่วมลงนามในปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) กับรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกทั้ง 5 ประเทศ ซึ่งถือว่า อาเซียน ได้ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการแล้ว
ในขณะที่อาเซียนได้จัดตั้งอย่างเป็นทางการ ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ประเทศลาว ประเทศเวียดนาม ยังคงเป็นอาณานิคมของประเทศทางตะวันตกอยู่ จนกระทั่งปี พ.ศ.2518 (ค.ศ. 1975) ทั้งสามประเทศได้รับเอกราชอย่างสมบูรณ์ ประเทศลาวและประเทศเวียดนามปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ ประเทศกัมพูชาก็ถูกเขมรแดงพยายามกดดันให้เปลี่ยนแปลงการปกครองด้วยลัทธิคอมมิวนิสต์ เช่นกัน ส่วนประเทศพม่าปกครองโดยระบบสังคมนิยม ประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงมีปัญหาต่าง ๆมากมาย เช่น สงครามระหว่างเวียดนาม-กัมพูชา สงครามระหว่างสหรัฐอเมริกา-เวียดนาม ส่วนประเทศไทยก็อยู่ในสภาวะกวาดล้างผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ส่วนประเทศบรูไนดารุสซาลามซึ่งไม่ได้มีปัญหาทั้งภายในและภายนอกประเทศ ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ.2527
(ค.ศ.1984) ซึ่งเป็นสมาชิกลำดับที่ 6 และถือว่าเป็นสมาชิกกลุ่มอาเซียนดั้งเดิมที่พัฒนาแล้ว
ในปีพ.ศ.2533 (ค.ศ.1990) ประเทศสหภาพโซเวียตล่มสลายความขัดแย้งระหว่างลัทธิทุนเสรีนิยม และลัทธิคอมมิวนิสต์หมดไป ประเทศเวียดนามจึงได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกอาเซียนในปี พ.ศ.2538 (ค.ศ.1995) ประเทศลาวและประเทศพม่าได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ.2540 (ค.ศ.1997) และประเทศกัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในปี พ.ศ.2542 (ค.ศ.1999) ทำให้อาเซียนมีสมาชิกร่วมทั้งสิ้น 10 ประเทศ
วัตถุประสงค์หลักของอาเซียน
ปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) ได้ระบุวัตถุประสงค์สำคัญ 7 ประการของการจัดตั้งอาเซียน ได้แก่
1. ส่งเสริมความร่วมมือและความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และการบริการ
2. ส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงส่วนภูมิภาค
3. เสริมสร้างความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและพัฒนาการทางวัฒนธรรมในภูมิภาค
4. ส่งเสริมให้ประชาชนในอาเซียนมีความเป็นอยู่และมีคุณภาพชีวิตที่ดี
5. ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในรูปของการอบรมและการวิจัย และส่งเสริมการศึกษาด้านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN Study)
6. เพิ่มประสิทธิภาพของการเกษตรและอุตสาหกรรม การขายสินค้า ตลอดจนการปรับปรุงการขนส่งและการคมนาคม
7. เสริมสร้างความร่วมมืออาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคอาเซียน องค์การ- ความร่วมมือแห่งภูมิภาคอื่น ๆ และองค์การระหว่างประเทศ
ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปีที่มีการก่อตั้งอาเซียน ถือว่าประสบความสำเร็จจนเป็นที่ยอมรับของหลายฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองและความมั่นคง ด้านเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งไทยได้รับประโยชน์อย่างมากจากการ่วมมือต่าง ๆ ของอาเซียน ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์จากการที่ภูมิภาค มีเสถียรภาพและสันติภาพ อันเป็นผลจากกรอบความร่วมมือด้านการเมืองและความมั่นคง ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจ ความร่วมมือด้านสังคมและวัฒนธรรม ซึ่งถ้าหากไม่มีความร่วมมือเหล่านี้แล้วคงเป็นการยากที่จะพัฒนาประเทศได้โดยลำพัง
หลักการพื้นฐานความร่วมมืออาเซียน
ประเทศสมาชิกทั้ง 10 ประเทศ ได้ยอมรับในการที่จะปฏิบัติตามหลักการพื้นฐาน ในการดำเนินงานในเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างกัน อันปรากฏในกฎบัตรอาเซียนซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของอาเซียน ที่เพิ่งมีผลบังคับใช้เมื่อกลางเดือนธันวาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ.2008) และสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia หรือ TAC) ซึ่งประกอบด้วย
1. การเคารพซึ่งกันและกันในเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณาการแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ประจำชาติของทุกชาติ
2. สิทธิของทุกรัฐในการดำรงอยู่โดยปราศจากการแทรกแซง การโค่นล้มอธิปไตยหรือการบีบบังคับจากภายนอก
3. หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของกันและกัน
4. ระงับความแตกต่างหรือข้อพิพาทโดยสันติวิธี
5. การไม่ใช้การขู่บังคับ หรือการใช้กำลัง
6. ความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพระหว่างประเทศสมาชิก
นอกจากหลักการข้างต้นแล้วตั้งแต่อดีตจนถึงช่วงที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ อาเซียนยึดถือหลักการฉันทามติเป็นพื้นฐานของกระบวนการตัดสินใจและกำหนดนโยบายมาโดยตลอดหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การที่อาเซียนจะตกลงกันดำเนินการใด ๆ ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้งหมดทั้งสิบประเทศจะต้องเห็นชอบกับข้อตกลงนั้น ๆ ก่อน การที่อาเซียนยึดมั่นในหลัก “ฉันทามติ” และการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน หรือที่ผู้สังเกตการอาเซียนเรียกว่า “วิถีอาเซียน” (ASEAN’s Way) นั้นก็ถือเป็นผลดีเพราะเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ในเรื่องระบบการเมือง วัฒนธรรมและฐานะทางเศรษฐกิจมีความสะดวกใจ ในการเข้าร่วมเป็นสมาชิกและดำเนินความร่วมมือในกรอบอาเซียน แต่ในอีกทางหนึ่ง ฉันทามติและการไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกันก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ในหลายโอกาสว่า เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้กระบวนการรวมตัวของอาเซียนเป็นไปอย่างล่าช้า รวมถึงทำให้อาเซียนขาดความน่าเชื่อถือ เนื่องจากถูกมองว่ากลไกที่มีอยู่ของอาเซียนล้มเหลว ในการจัดการปัญหาของอาเซียนเองที่เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกใดประเทศสมาชิกหนึ่งได้ อย่างไรก็ดี การยึดหลักฉันทามติในกระบวนการตัดสินใจของอาเซียน ได้เริ่มมีความยืดหยุ่นมากขึ้นหลังจากที่กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2551 (ค.ศ.2008) เนื่องจาก กฎบัตรอาเซียนได้เปิดช่องให้ผู้นำประทศสมาชิกอาเซียน พิจารณาหาข้อยุติในเรื่องที่ประเทศสมาชิกไม่มีฉันทามติได้
โครงสร้างของอาเซียนประกอบด้วยส่วนสำคัญดังนี้
1. สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ซึ่งได้จัดขึ้นตามข้อตกลงที่ลงนามโดยรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียนในระหว่างการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 1 ในปี พ.ศ.2519 (ค.ศ.1976) เพื่อทำการประสานงานและดำเนินงานตามโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ของสมาคมอาเซียนและเป็นศูนย์กลางในการติดต่อระหว่างสมาคมอาเซียน คณะกรรมการตลอดจนสถาบันต่าง ๆ และรัฐบาลของประเทศสมาชิก สำนักเลขาธิการอาเซียนตั้งอยู่ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีหัวหน้าสำนักงานเรียกว่า “เลขาธิการอาเซียน” ปัจจุบัน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เป็นเลขาธิการตั้งแต่ พ.ศ.2551 (ค.ศ.2008)
2. สำนักงานอาเซียนแห่งชาติหรือกรมอาเซียน (Asean National Secretariat) เป็นหน่วยงานในกระทรวงการต่างประเทศของประเทศสมาชิก ซึ่งแต่ละประเทศได้จัดตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่รับผิดชอบ ประสานงานเกี่ยวกับอาเซียนในประเทศนั้น ๆ และติดตามผลการดำเนินกิจกรรม ความร่วมมือต่าง ๆ
?

สัญลักษณ์อาเซียน










                                               “ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกันไว้”
หมายถึง ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกันเพื่อเป็นมิตรภาพ และความเป็นหนึ่งเดียวโดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของ ASEAN เป็นสีที่สำคัญของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
สีน้ำเงิน หมายถึง สัมติภาพภาพและความมั่นคง
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
สีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง










บทที่2

กฎบัตรอาเซียน(ASEAN Charter)
กฎบัตรอาเซียนเป็นร่างสนธิที่ทำร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิกในสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเป็นเครื่องมือในการวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรของสมาคม ทั้งนี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี พ.ศ.2558 (ค.ศ.2015) ตามที่ผู้นำอาเซียน ได้ตกลงกันไว้ตามกำหนดการ จะมีการจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2550 (ค.ศ.2007) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
ความเป็นมา

อาเซียนก่อตั้งขึ้นโดยตราสารที่เรียกว่า ปฏิญญาอาเซียน หรือที่รู้จักในชื่อปฏิญญากรุงเทพฯ (Bangkok Declaration) โดยหากพิจารณาจากเนื้อหาของตราสารและสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศในช่วง พ.ศ.2510 (ค.ศ.1967) พิจารณาได้ว่าอาเซียนจำต้องอาศัยรูปแบบความร่วมมือเชิงมิตรภาพในภูมิภาคและเลี่ยงการกำหนดสิทธิหน้าที่ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ตลอดเวลาที่ผ่านมาผู้นำในภูมิภาคได้อาศัยอาเซียนเป็นเวทีดำเนินความร่วมมือบนพื้นฐานของความยินยอมและความสมัครใจของสมาชิกเป็นหลักการดำเนินการอยู่บนพื้นฐานของการปรึกษาหารือการอาศัยฉันทามติ โดยเลี่ยงการอ้างสิทธิหน้าที่และการแทรกแซงทางการเมืองระหว่างสมาชิก (non intervention) ซึ่งแนวปฏิบัตินี้เรียกว่า “The ASEAN Way” ได้ช่วยให้ความร่วมมือดำเนินมาได้โดยปราศจากความขัดแย้งรุนแรง แม้ว่าสมาชิกแต่ละประเทศจะมีระบบกฎหมายและนโยบายทางการเมืองที่แตกต่างกัน ดังนั้น เมื่ออาเซียนได้มุ่งที่จะนำกฎหมายระหว่างประเทศมาเป็นฐานในการดำเนินการ จึงมิได้มีการจัดทำสนธิสัญญาหรือกฎบัตรอาเซียนมาตั้งแต่ต้น
ความสำคัญของอาเซียน
แม้อาเซียนจะมิได้มีสนธิสัญญาหรือกฎบัตรมาตั้งแต่ต้น แต่เมื่อเวลาผ่านไปอาเซียนก็ได้พัฒนาความร่วมมือโดยอาศัยฐานในทางกฎหมายระหว่างประเทศมากขึ้น เช่น การที่สมาชิกอาเซียนได้จัดทำสนธิสัญญาไมตรีและความร่วมมือในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Treaty of Amity and Cooperation in Southeast Asia 1976 หรือ TAC) ซึ่งก็เป็นการเน้นย้ำหลักกฎหมายระหว่างประเทศที่มีอยู่เดิมแล้วเน้นย้ำระหว่างรัฐในภูมิภาค เช่น หลักการเคารพอำนาจอธิปไตยของรัฐ หลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของแต่ละรัฐซึ่งปรากฏอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติอยู่แล้ว เป็นต้น และอาเซียนก็ได้อาศัยหลักในสนธิสัญญาดังกล่าวมาเป็นหลักการที่อาเซียนยึดถือ และเป็นข้อแม้ในการต่อรองกับรัฐที่ไม่ใช่สมาชิกให้ลงนามเป็นภาคีก่อนจะได้รับให้เข้าร่วมประชุมกับอาเซียนนั่นเอง ข้อพิจารณาสำคัญคือสนธิสัญญาดังกล่าวมิได้เกี่ยวข้องหรือทำขึ้นกับอาเซียนโดยตรง และอาเซียนก็มิได้มีความสามารถในการทำสนธิสัญญาโดยตนเอง เพียงแต่รัฐที่อยู่ในบริเวณเอเชียอาคเนย์ได้เข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาดังกล่าวเพื่อประโยชน์ร่วมกันในภูมิภาคและอาศัยอาเซียนเป็นเครื่องมือในการดำเนินความร่วมมือ และพันธกรณีหรือหน้าที่ตามสนธิสัญญานั้นย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินความร่วมมือภายใต้กรอบอาเซียนโดยปริยาย นอกจากนี้อาเซียนยังได้เป็นเวทีที่ทำให้เกิดสนธิสัญญาในเรื่องอื่น ๆ เช่น การทำให้ภูมิภาคปลอดจากอาวุธนิวเคลียร์หรือล่าสุดในด้านการต่อต้านการก่อการร้าย ตลอดจนความตกลงเรื่องเศรษฐกิจและความร่วมมือเฉพาะด้าน เช่น ด้านการส่งเสริมสวัสดิการสังคม การศึกษา การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมข้ามชาติ สิ่งแวดล้อม การจัดการภัยพิบัติ ฯลฯ ซึ่งล้วนอาศัยอาเซียนเป็นกลไกสำคัญทั้งสิ้น ดังนั้นแม้ในทางรูปแบบแล้วจะไม่ถือว่าอาเซียนได้ตั้งอยู่บนฐานกฎหมายระหว่างประเทศ แต่ในทางเนื้อหากฎหมายระหว่างประเทศและความตกลงเหล่านี้ก็จะได้มีอิทธิพลต่อการดำเนินการของอาเซียนในช่วงเวลาที่ผ่านมา
กระบวนการจัดทำ
เมื่อเดือนธันวาคม 2540 (ค.ศ.1997) ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ บรรดาผู้นำประเทศสมาชิกอาเซียนได้ร่วมประกาศ “วิสัยทัศน์อาเซียน 2020” (ASEAN Vision 2020) โดยกำหนดเป้าหมายว่าภายในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) อาเซียนจะมีรูปแบบความร่วมมือที่พัฒนาใกล้ชิดมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม ต่อมาในการประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ครั้งที่ 9 ในเดือนตุลาคม พ.ศ.2546 (ค.ศ.2003) ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน (Declaration of ASEAN Concord II หรือ Bali Concord II ) เพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ภายในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) โดยจะประกอบด้วย 3 เสาหลัก (pillars) ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community-ASC) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community-AEC) และประชาคมสังคม – วัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community-ASCC) ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2547 (ค.ศ.2004) ได้มีการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 10 ณ กรุงเวียงจันทร์ และบรรดาผู้นำอาเซียนได้ประกาศแผนปฏิบัติการเวียงจันทร์ (Vientiane Action Programme) ซึ่งได้สนับสนุนการจัดทำกฎบัตรอาเซียนเพื่อรับรองการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี พ.ศ.2563 (ค.ศ.2020) และในเดือนธันวาคม พ.ศ.2548 (ค.ศ.2005) ได้มีการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 11 ณ เกาะบาหลี โดยบรรดาผู้นำได้ร่วมกันประกาศ หลักการสำคัญในการจัดทำกฎบัตรอาเซียนและได้มอบหมายให้ “คณะผู้ทรงคุณวุฒิ” (Eminent Persons Group) ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการต่างประเทศจากประเทศสมาชิก เป็นผู้จัดทำข้อเสนอแนะเบื้องต้นและลักษณะทั่วไปของกฎบัตรอาเซียน ซึ่งคณะผู้ทรงคุณวุฒิก็ได้ประชุมหารือร่วมกับภาคส่วนต่าง ๆ จนสามารถสรุปข้อเสนอแนะเบื้องต้นในการจัดทำกฎบัตรในรูปแบบรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิเรื่องกฎบัตรอาเซียน ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 (ค.ศ.2006) ในการประชุมผู้นำอาเซียนครั่งที่ 12 ณ เมืองเซบู บรรดาผู้นำได้ร่วมกันประกาศรับรองรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับกฎบัตรอาเซียนและได้มอบหมายให้คณะทำงานระดับสูง หรือ High Level Task Force ซึ่งประกอบไปด้วยเจ้าหน้าที่ระดับสูงที่มีความเชี่ยวชาญจากแต่ละประเทศสมาชิกเป็นผู้รับผิดชอบจัดทำร่างกฎบัตรอาเซียนและเอกสารสำคัญที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้โดยอาศัยหลักการที่บรรดาผู้นำได้ร่วมกันประกาศไว้ ณ เกาะบาหลี และเมืองเซบู รวมถึงพิจารณาข้อเสนอแนะจากรายงานของคณะผู้ทรงคุณวุฒิให้แล้วเสร็จ เพื่อสามารถนำร่างกฎบัตรไปพิจารณาในการประชุมผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 13 ที่ประเทศสิงคโปร์ ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2550 (ค.ศ. 2007) ต่อไป จากนั้นก็จะได้มีการตรวจสอบ รับฟังความคิดเห็นก่อนผู้นำจะลงนาม
การประกาศใช้
วันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (ค.ศ.2008) ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศของสมาคมประชาชาติแห่งอาเซียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งจัดขึ้นที่สำนักงานเลขาธิการอาเซียน ในกรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนิเชีย ได้ประกาศใช้กฎบัตรอาเซียนอย่างเป็นทางการ ส่งผลให้การดำเนินงานของอาเซียน เป็นไปภายใต้กฎหมายเดียวกันและเป็นลู่ทางไปสู่การสร้างตลาดเดียวในภูมิภาคภายใน 7 ปี
โครงสร้างของกฎบัตรอาเซียน
โครงสร้างของกฎบัตรนี้ประกอบไปด้วยอารัมภบทและข้อบังคับ 55 ข้อใน 13 หมวด
หมวดที่ 1 วัตถุประสงค์และหลักการ – กล่าวถึงวัตถุประสงค์และหลักการ
หมวดที่ 2 สภาพบุคคลตามกฎหมาย – ระบุถึงฐานะทางกฎหมาย
หมวดที่ 3 สมาชิกภาพ – อธิบายสมาชิก การรับสมาชิกใหม่
หมวดที่ 4 องค์กร – กล่าวถึงองค์กรและการทำงานประกอบด้วย ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน คณะมนตรีประสานงาน คณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่าง ๆ องค์กรรัฐมนตรีเฉพาะสาขา คณะกรรมการถาวรประจำอาเซียน เลขาธิการและสำนักเลขาธิการ องค์กรสิทธิมนุษยชนอาเซียน
หมวดที่ 5 องค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน
หมวดที่ 6 ความคุ้มกันและเอกสิทธิ์ – เอกสิทธิ์ทางการทูตของอาเซียน
หมวดที่ 7 การตัดสินใจ – กล่าวถึงเกณฑ์การตัดสินใจที่อยู่บนหลักการปรึกษาหารือและฉันทามติ
หมวดที่ 8 การระงับข้อพิพาท – กล่าวถึงวิธีการระงับข้อพิพาทและคนกลาง โดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นช่องทางสุดท้าย
หมวดที่ 9 งบประมาณและงบการเงิน – กล่าวถึงการจัดทำงบประมาณของสำนักเลขาธิการ
หมวดที่ 10 การบริหารและขั้นตอนการดำเนินงาน – กล่าวถึงประธานอาเซียน พิธีการทางการทูต ภาษาทำงาน
หมวดที่ 11 อัตลักษณ์และสัญลักษณ์ – กล่าวถึงคำขวัญ ธง ดวงตรา วันและเพลงอาเซียน
หมวดที่ 12 ความสัมพันธ์ภายนอก – กล่าวถึงแนวทางขั้นตอนการเจราจาของอาเซียนกับคู่เจรจา
หมวดที่ 13 บทบัญญัติทั่วไปและบทบัญญัติสุดท้าย – กล่าวถึงการบังคับใช้
ภาคผนวก 1 – กล่าวถึงองค์กรระดับรัฐมนตรีอาเซียนเฉพาะสาขา ภาคผนวก 2 – กล่าวถึงองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับอาเซียน คือ รัฐสภา องค์กรภาคธุรกิจ สถาบันวิชาการ และองค์กรภาคประชาสังคม ภาคผนวก 3 – อธิบายรายละเอียดธงอาเซียน ภาคผนวก 4 – อธิบายรายละเอียดดวงตราอาเซียน
สาระสำคัญของกฎบัตรอาเซียน
วัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียนเป็นการประมวลบรรทัดฐาน (Norm) และค่านิยม (Value) ของอาเซียนที่สรุปได้ดังนี้ ภาพรวมของประชาคมอาเซียน การรักษาและเพิ่มพูนสันติภาพ ความมั่นคง เสถียรภาพ การเพิ่มความร่วมมือด้านการเมือง ความมั่นคงด้านเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม เป็นเขตปลอดอาวุธนิวเคลียร์และอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง ด้านเศรษฐกิจ สร้างตลาดและฐานการผลิตเดียวและความสามารถในการแข่งขันสูง การรวมตัวทางเศรษฐกิจที่มีการเคลื่อนย้ายอย่างเสรีของสินค้า/บริการ การลงทุนและแรงงาน การเคลื่อนย้ายทุนเสรียิ่งขึ้น
ด้านความมั่นคงของมนุษย์ บรรเทาความยากจน และลดช่องว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ผ่านความร่วมมือด้านการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีพ
ด้านสังคม ส่งเสริมอาเซียนที่มีประชากรเป็นศูนย์กลาง สร้างสังคมที่ปลอดภัยมั่นคงจากยาเสพติดเพิ่มพูนความกินดีอยู่ดีของประชาชนอาเซียน ให้โอกาสที่ทัดเทียมกันในการเข้าถึงการพัฒนามนุษย์ สวัสดิการ และความยุติธรรม
ด้านสิ่งแวดล้อม สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่คุ้มครองสภาพแวดล้อม ความยั่งยืนของทรัพยากรธรรมชาติ
ด้านวัฒนธรรม ส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียนโดยเคารพความหลากหลายและอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม
ด้านการเมืองความมั่นคง คุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน เสริมสร้างประชาธิปไตยเพิ่มพูนธรรมาภิบาลและหลักนิติธรรม ตอบสนองต่อสิ่งท้าทายความมั่นคง เช่น การก่อการร้าย
หลักการของกฎบัตรนี้ อยู่บนพื้นฐานของกฎหมายระหว่างประเทศ เช่น การไม่แทรกแซงกิจการภายใน การระงับข้อพิพาทโดยสันติวิธี สิ่งที่เน้นหนักคือ การรวมศูนย์กับความสัมพันธ์กับภายนอก จึงทำให้กฎบัตรนี้ เป็นสาเหตุหลักของการสร้างประชาคมอาเซียนและตอกย้ำถึงข้อผูกมัดทางกฎหมายของข้อตกลงอาเซียนต่าง ๆ
กลไกของอาเซียน ให้ที่ประชุมสุดยอดอาเซียนเป็นองค์กรสูงสุดในการกำหนดนโยบายของอาเซียน โดยมีการประชุมสุดยอดปีละ 2 ครั้ง มีคณะมนตรีประสานงานอาเซียนที่มาจากรัฐมนตรีต่างประเทศเป็นผู้บริหารงานทั่วไป และคณะมนตรีประชาคมอาเซียนดำเนินการตามพันธะกรณีในแต่ละสาขา เลขาธิการอาเซียนเป็นหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำหรับการติดตามความคืบหน้าในกิจการต่าง ๆ ของอาเซียน รวมทั้งมีคณะผู้แทนหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารสำหรับการติดตามความคืบหน้าในกิจการต่าง ๆ ของอาเซียน รวมทั้งมีคณะผู้แทนถาวรประจำอาเซียนเพื่อสนับสนุนการทำงานของคณะมนตรีประชาคมอาเซียน
การบริหารงาน ประธานอาเซียนดำรงตำแหน่งวาระ 1 ปี และประเทศที่เป็นประธานอาเซียนจะรับตำแหน่งประธานของกลไกของ อาเซียนทุกตำแหน่ง อาทิ ที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน มนตรีประสานงานอาเซียน มนตรีประชาคมอาเซียนคณะต่าง ๆ ประธานผู้แทนถาวรประจำอาเซียน
จากการกำหนดให้มีการประชุมสุดยอดปีละ 2 ครั้งแสดงว่า อาเซียนกำลังปรับให้ที่ประชุมสุดยอดให้มีบทบาทเชิงบริหารอย่างใกล้ชิดกับการปฏิบัติงานมากขึ้น แทนที่จะให้ที่ประชุมสุดยอดเป็นเพียงพิธีกรรมทางการทูต ร่วมทั้งการบริหารงานที่ทำให้มีความสอดคล้องกับประธานอาเซียนย่อมแสดงถึงความพยายามเพิ่มสมรรถนะขององค์กร ในด้านประสิทธิผลของคณะทำงานด้านต่าง ๆ
ข้อบังคับที่น่าสนใจคือ การให้มีองค์กรสิทธิมนุษย์ชนอาเซียน ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการร่างข้อบังคับโดยคณะทำงานระดับสูง ส่วนของคณะกรรมการสิทธิมนุษย์ชนในประเทศสมาชิก สามารถคาดหวังได้ว่าจะใช้องค์กรนี้ในฐานะเวทีของการเรียกร้องสิทธิและสร้างพื้นที่ต่อการรับรู้จากสาธารณะ
บทที่ 3
ข้อมูลพื้นฐานของประเทศสมาชิก ASEAN, ASEAN + 3 และ ASEAN + 6
ประเทศ ASEAN มี 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ซึ่งเป็นสมาชิกกลุ่มก่อตั้ง SAEAN และเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว บรูไนเป็นปะเทศสมาชิกสมทบในกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้ว ส่วน 4 ประเทศสมาชิกที่เข้าสมาคมใหม่ ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่าและเวียดนาม (CLMV)
สำหรับประเทศคู่เจรจาที่สำคัญ ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ( SAEAN + 3) อินเดีย ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ (ASEAN + 6) ทั้ง 10 ประเทศสมาชิกและ 6 ประเทศคู่เจรจา มีความแตกต่างและความหลากหลายในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ ภูมิอากาศ จำนวนประชากร เชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม และภาษาพูด ตลอดจนความแตกต่างในด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการเงิน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษาข้อมูลพื้นฐานของแต่ละประเทศสมาชิกและประเทศคู่เจรจาเพื่อเป็นแนวทางสู่การเป็นประชาคมอาเซียนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
ประเทศบูรไน ดารุสาลาม
(Brunei Darussalam)
  
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 5,765 ตารางกิโลเมตร โดยพื้นที่ร้อยละ 70 เป็นป่าไม้เขตร้อน ภูมิอากาศ อากาศโดยทั่วไปค่อนข้างร้อนชื้น มีปริมาณฝนตกค่อนข้างมาก อุณหภูมิ เฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส เมืองหลวง กรุงบันดาร์เสรีเบกาวัน (Bandar Seri Begawan) เวลา GMT +8 เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง ประชากร 408,146 คน อัตราการเพิ่มของประชากร 1.9 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ มาเลย์ 67 เปอร์เซ็นต์ จีน 15 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ 12 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา ศาสนาอิสลาม 67 เปอร์เซ็นต์ ศาสนาพุทธ 13 เปอร์เซ็นต์ ศาสนาคริสต์ 10 เปอร์เซ็นต์และอื่น ๆ อีก 10 เปอร์เซ็นต์ ภาษา ภาษามาเลย์ (Malay หรือ Bahasa Melayu) เป็นภาษาราชการรองลงมาเป็นภาษาอังกฤษแลภาษาจีน
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 12,953 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคการเกษตรกรรม 0.9 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 71.6 เปอร์เซ็นต์ และภาคบริการ 27.5 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 31,736 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเจริญเติบโต 0.4 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 8,754 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ปิโตรเลียมกลั่น และเสื้อผ้า แหล่งส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น (36.8 เปอร์เซ็นต์) อินโดนีเชีย (19.3 เปอร์เซ็นต์) เกาหลีใต้ (12.7 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา ( 9.5 เปอร์เซ็นต์) และออสเตรเลีย (9.3 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 3,106 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง อาหาร และเคมีภัณฑ์ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ สิงคโปร์ ( 32.7 เปอร์เซ็นต์) มาเลเซีย (23.3 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (6.9 เปอร์เซ็นต์) สหราชอาณาจักร (5.3 เปอร์เซ็นต์) ไทย (4.5 เปอร์เซ็นต์) และเกาหลีใต้ (4.0 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน ดอลลาร์บรูไน (Bruneian Dollar หรือ BND) อัตราแลกเปลี่ยน 1.93 ดอลลาร์บรูไน/1 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 22.98 บาท/1 ดอลลาร์บรูไน


ราชอาณาจักรกัมพูชา
(Kingdom of Cambodia)
 
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 181,035 ตารางกิโลเมตร (พื้นดิน 176,525 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 4,520 ตารางกิโลเมตร) หรือมีขนาดประมาณ 1 ใน 3 ของประเทศไทยกว้าง 500 กิโลเมตร ยาว 450 กิโลเมตร ภูมิอากาศ ร้อนชื้น มีฤดูฝนยาวนาน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย 20-36 องศาเซลเซียส เมืองหลวง กรุงพนมเปญ ( Phnom Penh) มีประชากรประมาณ 1,000,000 คน เป็นแหล่งการค้า การลงทุนที่สำคัญ เมืองสำคัญ กำปงจาม เป็นเมืองท่าการค้า มีประชากรประมาณ 1,513,500 คน เสียมราฐ เป็นศูนย์ของการท่องเที่ยวและธุรกิจโรงแรมเนื่องจากเป็นที่ตั้งของนครวัด นครธม ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก พระตะบองเป็นเมืองกระจายสินค้า เกาะกง เป็นที่ตั้งของท่าเรือจามเยี่ยม ซึ่งเป็นเมืองท่าที่สำคัญของประเทศ สีหนุวิลล์ (กำปงโสม) เป็นเมืองท่าการค้าและการท่องเที่ยว เวลา GMT +7 เท่ากับประเทศไทย ประชากร 14,805,000 คน ประชากรร้อยละ 80 อาศัยอยู่ในชนบท มีอัตราเพิ่มของประชากร 1.7 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ กัมพูชา 90 เปอร์เซ็นต์ เวียดนาม 5 เปอร์เซ็นต์ จีน 1 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ 4 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา พุทธศาสนานิกายเถรวาท 95 เปอร์เซ็นต์ (มี 2 นิกายย่อย ได้แก่ธรรมยุตินิกายและมหานิกาย โดยมีสมเด็จสังฆราช 2 องค์) ศาสนาเขมรจาม ซึ่งมีประมาณ 200,000 คน และศาสนาคริสต์ ภาษา ภาษาเขมร ส่วนภาษาที่ใช้งานทั่วไป ได้แก่ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เวียดนาม จีน และไทย
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 12,932 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคเกษตรกรรม 33.7 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 27.1 เปอร์เซ็นต์ และภาคบริการ 39.1 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 873 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเจริญเติบโต 6.0 เปอร์เซ็นต์ 3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) ประเทศคู่ค้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา ไทย จีน ฮ่องกง และสิงคโปร์ มูลค่าการส่งออก 4,249 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องนุ่งห่ม ไม้ซุง ยางพารา ข้าว ปลา ใบยาสูบ รองเท้า แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา (53.3 เปอร์เซ็นต์) ฮ่องกง (15.2 เปอร์เซ็นต์) เยอรมนี (6.6 เปอร์เซ็นต์) และสหราชอาณาจักร (4.3 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 4,476 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ยาสูบ ทองคำ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะและเภสัชภัณฑ์ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ฮ่องกง (18.1 เปอร์เซ็นต์) จีน (17.5 เปอร์เซ็นต์) ไทย (13.93 เปอร์เซ็นต์) ไต้หวัน (12.7 เปอร์เซ็นต์) และเวียดนาม ( 9.0 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน เรียล (Riel หรือ KHR) อัตราแลกเปลี่ยน อัตราแลกเปลี่ยน 4,121 เรียล /1 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 118.4 เรียล /1บาท


สาธารณรัฐอินโดนีเซีย
( Republic of the Indonesia)





1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 1,919,440 ตารางกิโลเมตร (พื้นดิน 1,826,440 ตารางกิโลเมตร พื้นน้ำ 93,000 ตารางกิโลเมตร) ภูมิอากาศ เขตร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร มี 2 ฤดู คือ ฤดูแล้ง (พ.ค. – ต.ค.) และฤดูฝน (พ.ย. – เม.ย.) เมืองหลวง จาการ์ตา (Jakarta) เมืองสำคัญ สุราบายา บันดุง เมดาน และบาหลี เวลา GMT +7 เท่ากับประเทศไทย ประชากร 231,369,500 คน โดย 61 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่บนเกาะชวา มีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร 1.41 เปอร์เซ็นต์ เชื้อชาติ จาวา 40.6 เปอร์เซ็นต์ ซุนดา 15 เปอร์เซ็นต์ มาดู 3.3 เปอร์เซ็นต์ มาเลย์ 7.5 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ 33.6 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา อิสลาม 87 เปอร์เซ็นต์ คริสต์โปรเตสแตนต์ 6 เปอร์เซ็นต์ นิกายคาทอลิก 3.5 เปอร์เซ็นต์ ฮินดู 1.8 เปอร์เซ็นต์ และพุทธ 1.3 เปอร์เซ็นต์ ภาษา Bahasa Indonesia เป็นภาษาราชการ (ดัดแปลงมาจากภาษามาเลย์) อังกฤษ ดัตช์และภาษาพื้นเมืองกว่า 583 ภาษา (ส่วนใหญ่พูดภาษา จาวา)
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 776,976 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 3,372 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเจริญเติบโต 6.1 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 137,020 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ น้ำมันและก๊าซ เครื่องใช้ไฟฟ้า ไม้อัด เสื้อผ้าสำเร็จรูป และยางพารา แหล่งส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น (21.6 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา (11.2 เปอร์เซ็นต์) สิงคโปร์ (8.9 เปอร์เซ็นต์) จีน (8.3 เปอร์เซ็นต์) และเกาหลีใต้ (7.6 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 129,197 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร และอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ น้ำมันและก๊าซ และอาหาร แหล่งนำเข้าที่สำคัญ สิงคโปร์ (16.4 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (9 เปอร์เซ็นต์) จีน (10.9 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา (6.7 เปอร์เซ็นต์) เกาหลีใต้ (7.6 เปอร์เซ็นต์) และไทย (6 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน รูเปียห์ (Indonesian Rupiah: IDR) อัตราแลกเปลี่ยน 10,950 รูเปียห์/1 เหรียญสหรัฐฯ



                                      สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว( สปป.ลาว )
                                 (The Lao People’s Democratic Republic of Lao : PDR)





1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 236,800 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณครึ่งหนึ่งของประเทศไทย ภูมิอากาศ แบบเขตร้อนมีฝนตกชุกระหว่าง พ.ค. - ก.ย.อุณภูมิเฉลี่ยที่นครหลวง เวียงจันทร์ 25 องศาเซลเซียส (ม.ค.) และ 36 - 37 องศาเซลเซียส (เม.ย.) ปริมาณฝนเฉลี่ย 1,715 มิลลิเมตรต่อปี เมืองหลวง นครเวียงจันทน์ อยู่ตรงข้ามจังหวัดหนองคาย มีประชากร 606,000 คน เมืองสำคัญ แขวงสะหวันนะเขต ประชากรมากที่สุดในประเทศ 690,000 คนอยู่ตรงข้ามกับจังหวัดมุกดาหาร แขวงจำปาสัก มีประชากรมากเป็นอันดับสาม 500,000 คน มีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอุบลราชธานี แขวงคำม่วน มีประชากร 280,000 คน มีป่าไม้และแร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ อยู่ตรงข้ามกับจังหวัดนครพนม เวลา GMT+7 เท่ากับประเทศไทย ประชากร 6,835,345 คน อัตราเพิ่มของประชากร 2.4 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ ลาวลุ่ม 68 เปอร์เซ็นต์ ลาวเทิง 22 เปอร์เซ็นต์ ลาวสูง 9 เปอร์เซ็นต์และอื่น ๆ รวมประมาณ 68 ชนเผ่า ศาสนา พุทธ 75 เปอร์เซ็นต์ นับถือผี 16 - 17 เปอร์เซ็นต์ คริสต์ประมาณ 100,000 คน อิสลามประมาณ 300 คน ภาษา ภาษาราชการ คือ ภาษาลาว ภาษาที่ใช้ในการติดต่อธุรกิจ ได้แก่ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 6,946 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคเกษตรกรรม 49 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 26 เปอร์เซ็นต์ และภาคบริการ 25 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 1,016 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเจริญเติบโต 8.4 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 828 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องนุ่งห่ม ไม้และผลิตภัณฑ์ กาแฟ กระแสไฟฟ้า ดีบุก แหล่งส่งออกที่สำคัญ ไทย (41.0 เปอร์เซ็นต์) เวียดนาม (9.7 เปอร์เซ็นต์) จีน (4.1 เปอร์เซ็นต์)และมาเลเซีย (4.0 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 1,803 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร ยานพาหนะ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม สินค้าอุปโภคบริโภค แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ไทย (69.0 เปอร์เซ็นต์) เวียดนาม (5.6 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน กีบ ( Kip หรือ LAK) อัตราแลกเปลี่ยน 8,531 กีบ/1 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 280 กีบ/1 บาท





ประเทศมาเลเซีย
Malaysia)





1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 330,257 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ เป็นเขตร้อนชื้น มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในเดือน เม.ย.– ต.ค. และตะวันออกเฉียงเหนือเดือน ต.ค. – ก.พ. อุณหภูมิเฉลี่ย 28 องศาเซลเซียส เมืองหลวง กรุงกัวลาลัมเปอร์ (Kuala Lumpur) เมืองสำคัญ เมืองปุตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองราชการ เวลา GMT+8 เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง ประชากร 27,468,000 คน อัตราเพิ่มของประชากร 1.76 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ มาเลย์ 50.4 เปอร์เซ็นต์ จีน 23 เปอร์เซ็นต์ ชาวพื้นเมือง 11 เปอร์เซ็นต์ อินเดีย 7.1 เปอร์เซ็นต์และอื่น ๆ 7.8 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา อิสลาม 60.4 เปอร์เซ็นต์ พุทธ 19.25 เปอร์เซ็นต์ คริสต์ 11.6 เปอร์เซ็นต์ ฮินดู 6.3 เปอร์เซ็นต์และอื่น ๆ 2.5 เปอร์เซ็นต์ ภาษา ภาษา Bahasa Malayu เป็นภาษาราช ภาษาอังกฤษ และจีน (สำเนียง Cantonese Mandarin Hokkien Hakka Hainan Foochow) Telugu Malayalam Panjabi และไทย ส่วนภาคตะวันออกของประเทศ ใช้ภาษาท้องถิ่นจำนวนมาก โดยส่วนใหญ่พูดภาษา Iban และ Kadaz
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 236,555 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคการเกษตรกรรม 8.4 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 48 เปอร์เซ็นต์ และภาคบริการ 43.6 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 8,618 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเจริญเติบโต 4.6 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 194,496 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล ปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติเหลว ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ น้ำมันปาล์ม ยางพารา สิ่งทอและผลิตภัณฑ์เคมี แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา (15.6 เปอร์เซ็นต์) สิงคโปร์ (14.6 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (9.1 เปอร์เซ็นต์) จีน (8.8 เปอร์เซ็นต์) และไทย (5.0 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 144,299 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม เหล็กและผลิตภัณฑ์เหล็กกล้า พลาสติก เคมีภัณฑ์ และยานพาหนะ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น (13.0 เปอร์เซ็นต์) จีน (12.9 เปอร์เซ็นต์) สิงคโปร์ (11.5 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา (10.9 เปอร์เซ็นต์) และไทย (5.4 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน ริงกิต (Ringgits หรือ MYR) อัตราแลกเปลี่ยน 3.55 ริงกิต / 1 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 10.65 บาท /1 ริงกิต





สหภาพพม่า


( Union of Myanmar)



สาธารณรัฐฟิลิปปินส์
The Republic of the Philippines)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 298,170 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยเกาะขนาดต่าง ๆ 7,107 เกาะ เกาะสำคัญได้แก่ เกาะลูซอน (Luzon) หมู่เกาะวิสซายา (Visayas) และเกาะมินดาเนา (Mindanao) ภูมิอากาศ มรสุมเขตร้อนได้รับความชุ่มชื้นจากลมมรสุมทั้ง 2 ฤดู ช่วงระหว่าง พ.ย.-เม.ย. มีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างเดือนพ.ค.-ต.ค.มีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ได้รับฝนจากลมพายุไต้ฝุ่นและดีเปรสชั่น บริเวณที่มีฝนตกมากที่สุดคือ เมืองบาเกียว เป็นเมืองที่ฝนตกมากที่สุดในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เมืองหลวง กรุงมะนิลา (Metro Manila) เมืองสำคัญ เมืองเซบู ดาเวา บาเกียว เวลา GMT+8 (เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง) ประชากร 92,222,660 คน (ปี2551) อัตราการเพิ่มของประชากร 1.8 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ ตากาล็อก 28.1 เปอร์เซ็นต์ Cebuano 13.1 เปอร์เซ็นต์ Ilocano 9 เปอร์เซ็นต์ Bisaya/ Binisaya 7.6 เปอร์เซ็นต์ Hiligaynon Ilonggo 7.5 เปอร์เซ็นต์ Bikol 6 เปอร์เซ็นต์ Waray 3.4 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ 25.3 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา ฟิลิปปินส์เป็นประเทศที่มีประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก อันดับที่ 4 ของโลก ศาสนาอิสลามอันดับที่ 40 ของโลก ศาสนาฮินดูอันดับที่ 7 ของโลก และพระพุทธศาสนาอันดับที่ 17 ของโลก 92 เปอร์เซ็นต์ของชาวฟิลิปปินส์ทั้งหมดนับถือศาสนาคริสต์โดย 83 เปอร์เซ็นต์นับถือนิกายคาทอลิกและ 9 เปอร์เซ็นต์เป็นนิกายโปรเตสแตนต์ ภาษา ภาษาราชการ คือ ภาษาอังกฤษและภาษาตากาล็อก (ภาษาฟิลิปิโน) มีการใช้ภาษามากว่า 170 ภาษา โดยส่วนมากเกือบจะทั้งหมดนั้นเป็นตระกูลภาษาย่อยมาลาโยโปลิเวียนตะวันตก ส่วนภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่ใช้กันมากในฟิลิปปินส์มีทั้งหมด 8 ภาษา ได้แก่ สเปน จีน ฮกเกี้ยน จีนแต้จิ๋ว อินโดนิเซีย ซินด์ ปัญจาบ เกาหลีและอาหรับ
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 212,657 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคบริการ 48.4 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 32.8 เปอร์เซ็นต์ และภาคเกษตรกรรม 18.8 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 2,306 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต 3.6 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 49,025 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล เสื้อผ้าสำเร็จรูป แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา (17.1 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (12 เปอร์เซ็นต์) ฮ่องกง (11.6เปอร์เซ็นต์) จีน (11.4 เปอร์เซ็นต์) และเนเธอร์แลนด์ มูลค่าการนำเข้า 56,646 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล น้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องจักรกล เหล็ก ยานพาหนะ และพลาสติก แหล่งนำเข้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา (14.4 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (12 เปอร์เซ็นต์) สิงคโปร์ (11.5 เปอร์เซ็นต์) ไต้หวัน (7.4 เปอร์เซ็นต์) จีน (7.3 เปอร์เซ็นต์) และซาอุดิอาระเบีย (6.7 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน ฟิลิปปินส์ เปโซ (Philippine peso) อัตราแลกเปลี่ยน 48.09 เปโซ/1 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 1.5 เปโซ/1 บาท
สาธารณรัฐสิงคโปร์
(The Republic of the Singapore)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 699 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ อากาศร้อนชื้น และฝนตกตลอดทั้งปี เมืองหลวง สิงคโปร์ เวลา GMT +8 (เร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง) ประชากร 5,076,700 คน อัตราการเพิ่มประชากร 3.3 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ จีน 76 เปอร์เซ็นต์ มาเลย์ 14 เปอร์เซ็นต์ อินเดีย 8.3 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ 1.7 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา พุทธ 42.5 เปอร์เซ็นต์ อิสลาม 14.9 เปอร์เซ็นต์ คริสต์ 14.54 เปอร์เซ็นต์ และฮินดู 4 เปอร์เซ็นต์ ภาษา ภาษาประจำชาติคือ ภาษามาเลย์ ภาษาที่ใช้เป็นทางการ คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาราชการมี 4 ภาษา คือ ภาษามาเลย์ จีนกลาง ทมิฬ และอังกฤษ
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 233,166 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 45,928 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต 1.1 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 241,405 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และเสื้อผ้า แหล่งส่งออกที่สำคัญ มาเลเซีย (12.9 เปอร์เซ็นต์) ฮ่องกง (10.5 เปอร์เซ็นต์) อินโดนิเซีย (9.8 เปอร์เซ็นต์) จีน (9.7 เปอร์เซ็นต์) และสหรัฐอเมริกา (10.0 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 230,760 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์และเสื้อผ้า แหล่งนำเข้าที่สำคัญ มาเลเซีย (13.1 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา (12.3 เปอร์เซ็นต์) จีน (12.1 เปอร์เซ็นต์) และญี่ปุ่น (8.2 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน สิงคโปร์ดอลลาร์ (SGD) อัตราแลกเปลี่ยน 1.44 เหรียญสิงคโปร์/1 เหรียญสหรัฐฯ หรือ 21.9 บาท/1 เหรียญสิงคโปร์
ราชอาณาจักรไทย
Kingdom of Thailand<)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 513,254 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ เป็นเขตร้อนชื้นมี 3 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ ก.พ.–เม.ย.ฤดูฝนในช่วงเดือน พ.ค.–ต.ค. ฤดูหนาวจะเริ่มต้นเดือน พ.ย.- ม.ค. พื้นที่ทั้งหมดอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมมรสุม คือ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากแถบมหาสมุทรอินเดียในฤดูฝนและมรสุมตะวันออก เฉียงเหนือจากทะเลจีนใต้ในฤดูหนาว อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี ประมาณ 18-34 องศาเซลเซียส เมืองหลวง กรุงเทพมหานคร (Bangkok) เวลา GMT + 7 ประชากร 67,354,820 คน อัตราการเพิ่มประชากร 0.82 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เชื้อชาติ ไทย 75 เปอร์เซ็นต์ จีน 14 เปอร์เซ็นต์ และอื่น ๆ 11 เปอร์เซ็นต์ ศาสนา พุทธ 94.6 เปอร์เซ็นต์ อิสลาม 4.6 เปอร์เซ็นต์ คริสต์ 0.7 เปอร์เซ็นต์และอื่น ๆ 0.1 เปอร์เซ็นต์ ภาษา ไทย อังกฤษ และภาษาท้องถิ่น
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 334,026 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคเกษตรกรรม 10.7 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 44.6 เปอร์เซ็นต์และภาคบริการ 44.7 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 4,959 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต 2.6 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 174,967 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีและเครื่องประดับ ยางพารา แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา (13.2 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (12.7 เปอร์เซ็นต์) จีน (8.9 เปอร์เซ็นต์) และฮ่องกง (4.7 เปอร์เซ็นต์) มูลค่าการนำเข้า 177,568 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ แผงวงจรไฟฟ้า แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น (20.7 เปอร์เซ็นต์) จีน (11.5 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอเมริกา (7.0 เปอร์เซ็นต์) มาเลเซีย (6.3 เปอร์เซ็นต์) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (4.4 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน บาท (Baht หรือ THB) อัตราการแลกเปลี่ยน 33.36 บาท/1 เหรียญสหรัฐฯ
สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม
(The Socialist Republic of Vietnam)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 331,689 ตารางกิโลเมตร ประมาณ 0.645 เท่าของประเทศไทย ภูมิอากาศ มีความแตกต่างตามลักษณะทางพื้นที่ภูมิศาสตร์ของเวียดนาม คือ ภาคเหนือ มีอากาศค่อนข้างหนาวเย็น แบ่งออกเป็น 4 ฤดู ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว ขณะที่ภาคกลางและภาคใต้มีสภาพอากาศที่ค่อนข้างร้อนตลอดทั้งปี ซึ่งมีเพียง 2 ฤดูได้แก่ ฤดูฝนและฤดูแล้ง เมืองหลวง กรุงฮานอย (Hanoi) เมืองสำคัญ เมืองไฮฟอง เป็นเมืองท่าที่สำคัญ และเขตอุตสาหกรรมหนัก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมต่อเรือเคมีภัณฑ์และวัสดุก่อสร้าง เมืองกว่างนินห์ เป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติป่าไม้และเป็นแหล่งถ่านหินที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เมืองเว้ เป็นเมืองประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ เมืองกว่างนัม – ดานัง เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการค้า และเมืองท่าสำคัญ นครโอจิมินห์ เป็นศูนย์กลางทางธุรกิจการค้า และเมืองท่าสำคัญ เมืองด่องไน เป็นเมืองที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรมมากที่สุดของประเทศและเป็นแหล่งผลิตวัตถุดิบเกษตรเพื่อป้อนอุตสาหกรรมการเกษตร เช่น ยางพารา ถั่วเหลือง กาแฟ ข้าวโพด อ้อย และยาสูบ เมืองเกิ่นเธอ เป็นเมืองอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและแหล่งเพาะปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ เมืองเตี่ยงยาง เป็นแหล่งผลิตข้าวและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ทุเรียน มะม่วงและผลไม้เมืองร้อน เมืองบาเรีย – วุ่นเต่า เป็นเมืองที่มีการผลิตน้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติรวมทั้งเป็นเมืองตากอากาศชายทะเลที่สำคัญของเวียดนาม เวลา GMT +7 เท่ากับประเทศไทย ประชากร 90,549,390 คน อัตราเพิ่มประชากร 1.0 เปอร์เซ็นต์ เชื้อชาติ เวียดนาม 85 - 90 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นจีน ไทย เขมร ชาวเขาเผาต่าง ๆ ศาสนา 70 เปอร์เซ็นต์นับถือศาสนาพุทธนิกายมหายาน ที่เหลือนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งส่วนใหญ่นับถือนิกายโรมันคาทอลิก ศาสนาอิสลาม และความเชื่อที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ภาษา ภาษาราชการคือ ภาษาเวียดนาม ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ คือ ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 113,627 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จำแนกเป็นภาคการเกษตร 19.4 เปอร์เซ็นต์ ภาคอุตสาหกรรม 42.3 เปอร์เซ็นต์และภาคบริการ 38.3 เปอร์เซ็นต์ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 1,255 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต 6.3 เปอร์เซ็นต์
3. การค้าระหว่างประเทศ (ปี 2551) มูลค่าการส่งออก 61,778 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกสำคัญ น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ประมง ข้าว กาแฟ ยางพารา ชา เสื้อผ้าสำเร็จรูป และรองเท้า แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา (21.1 เปอร์เซ็นต์) ญี่ปุ่น (12.3เปอร์เซ็นต์) ออสเตรเลีย (9.4 เปอร์เซ็นต์) จีน (5.7 เปอร์เซ็นต์) และเยอรมนี (5.2 เปอร์เซ็นต์) มูลคาการนำเข้า 79,579 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปุ๋ย ผลิตภัณฑ์เหล็ก ฝ้าย เมล็ดธัญพืช ปูนซีเมนต์ จักรยานยนต์ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ จีน (17.7 เปอร์เซ็นต์) สิงคโปร์ (12.9 เปอร์เซ็นต์) ไต้หวัน (11.5 เปอร์เซ็นต์) และญี่ปุ่น (9.8 เปอร์เซ็นต์) สกุลเงิน ดอง (Dong หรือ VND) อัตราแลกเปลี่ยน 16,977 ดอง/1 เหรียญสหรัฐฯ 467.2 ดอง/1 บาท
ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
( Peoples Republic of China - PRC)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 9,596,960 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ อยู่ในเขตอบอุ่น มีฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว เมืองหลวง กรุงปักกิ่ง (Peking) ประชากร 1,346.8 ล้านคน เชื้อชาติ ฮั่น 93.3 % ศาสนา ลัทธิขงจื้อ พุทธ เต๋า อิสลาม คริสต์ ภาษา ภาษาราชการคือภาษาจีนกลาง
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 6,422,267 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 4,768 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต 11.4 %
3. การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออก 438,200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักรกล เสื้อผ้าสิ่งทอ ของเด็กเล่น อุปกรณ์กีฬา เชื้อเพลิง เคมีภัณฑ์ แหล่งส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา EU ASEAN เกาหลีใต้ รัสเซีย มูลค่าการนำเข้า 412,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เครื่องจักรกล เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ เชื้อเพลิง แหล่งนำเข้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น EU ASEAN เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย รัสเซีย สกุลเงิน หยวนเหริมหมินปี้ (RMB¥) (eny) อัตราการแลกเปลี่ยน 8.2766 หยวน ต่อ 1 เหรียญสหรัฐฯ ประเทศญี่ปุ่น (Japan) 1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 377,865 ตารางกิโลเมตร (พื้นน้ำ 3091 ตารางกิโลเมตร) ลักษณะเป็นเกาะประมาณ 3,900 เกาะ ภูมิอากาศ มี 4 ฤดู ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว เมืองหลวง กรุงโตเกียว (Tokyo) ประชากร 127.6 ล้านคน อัตราการเพิ่มของจำนวนประชากร 0.08% เชื้อชาติ ยะมะโตะ ญี่ปุ่น เกาหลี จีน ศาสนา ศาสนาพุทธ และชินโต คริสต์ ขงจื้อ ภาษา ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษากลาง 2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 5,683,292 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 44,540 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต ร้อยละ 5.0 3. การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออก 520,419 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ เครื่องจักรกลและอุปกรณ์ยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์จากโลหะเหล็กกล้า สิ่งทอและเครื่องบริโภค แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา จีน เกาหลี ฮ่องกง ไทย สิงคโปร์ มาเลเซีย อังกฤษ ออสเตรเลีย มูลค่าการนำเข้า - สินค้านำเข้าที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์อาหาร วัตถุดิบต่าง ๆ สิ่งทอ แหล่งนำเข้าที่สำคัญ จีน สหรัฐอเมริกา ซาอุดิอารเบีย ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ ไทย เยอรมนี สกุลเงิน เยน (YEN:¥) อัตราการแลกเปลี่ยน 81.29 ¥ : ดอลลาร์สหรัฐฯ
ประเทศเกาหลีใต้
(South Korea)
1.ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 99,461 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ อยู่ในเขตอบอุ่นมี 4 ฤดูกาลใน 1 ปี ได้แก่ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาว เมืองหลวง กรุงโซล (SEOUL) ประชากร 48.3 ล้านคน เชื้อชาติ เกาหลี ศาสนา 23.2% พุทธ 19.7% คริสต์ 6.6 % คาทอลิคและอื่น ๆ ภาษา ภาษาเกาหลี ภาษาอังกฤษ
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 986,256 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 28,419 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต 4-5 เปอร์เซ็นต์/ปี
3. การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออก 320,800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ แผงวงจรไฟฟ้า เหล็กและเหล็กกล้า เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกล แหล่งส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา ASEAN ไทย มูลค่าการนำเข้า 294,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ เชื้อเพลิง เครื่องจักร เหล็ก เคมีภัณฑ์ พลาสติก แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา ASEAN ไทย สกุลเงิน Won (วอนเกาหลี) หรือ (KRW) อัตราการแลกเปลี่ยน 954.00 KRW/1 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ประเทศสาธารณรัฐอินเดีย
(Republic of India)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 3,283,590 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ ร้อนชื้นแบบศูนย์สูตร เมืองหลวง กรุงนิวเดลี ( New Delhi) ประชากร 1,200.2 ล้านคน อัตราการเพิ่มของประชากร 1.58 เปอร์เซ็นต์/ ปี เชื้อชาติ 72% อินโดอารยัน 25% ดราริเดียน ศาสนา 82.1 % ฮินดู 12% อิสลาม 2.3% คริสต์ 2.1 % ซิกส์ 0.7% พุทธ อื่น ๆ 0.8% ภาษา อังกฤษ ฮินดี ( Hindi) เป็นภาษาประจำชาติภาษาอื่น ๆ ได้แก่ เบงกาลี เตลูกู มาระติ ทมิฬ อุรดู กุจะราติ มาลายาลัม คันนาดา โอริยาและ ปันจามิ
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 1,598,394 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 1.332 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต ร้อยละ 8.7
3. การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออก 35,600 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์เกษตร แร่ สิ่งทอ อัญมณีเครื่องประดับ แหล่งส่งออกที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา สหรัฐอาหรับ ฮ่องกง อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น เบลเยี่ยม มูลค่าการนำเข้า 47,500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมันดิบ ไข่มุกและอัญมณี ทอง เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร สารเคมี น้ำมันพืช ถ่านหิน แหล่งนำเข้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา เบลเยี่ยม จีน อังกฤษ สิงคโปร์ มาเลเซีย สกุลเงิน รูปี (Rupee) หรือ INR อัตราแลกเปลี่ยน 0.180 รูปี ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ประเทศออสเตรเลีย
(Australia)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 7,682,300 ตารางกิโลเมตร ภูมิอากาศ ตอนเหนือประมาณ 40% ของพื้นที่ เป็นอากาศเขตร้อนชื้น พื้นที่ที่อยู่ตอนใต้ลักษณะอากาศอบอุ่น เมืองหลวง เมืองแคนเบอร่า (Canberra) เป็นเมืองท่องเที่ยวที่สวยงาม ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ.1972 ประชากร 22.7 ล้านคน อัตราการเพิ่มของประชากร 1.2% เชื้อชาติ ชาวอะบอริจิน เป็นชนชาติแรกที่มาตั้งรกรากในออสเตรเลีย ศาสนา 75 % นับถือศาสนาคริสต์ นอกนั้นก็เป็นศาสนาอิสลามและยิว ภาษา ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลาง นอกจากนั้นก็มีภาษาอิตาเลียน กรีก
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 1,297,831 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 57,173 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต
3. การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออก - สินค้าส่งออกที่สำคัญ ถ่านหิน ทองคำ แร่เหล็ก น้ำมันดิบ เนื้อวัว แหล่งส่งออกที่สำคัญ ญี่ปุ่น จีน สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ นิวซีแลนด์ มูลค่าการนำเข้า - สินค้านำเข้าที่สำคัญ ชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์ น้ำมันดิบ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์โทรคมนาคม แหล่งนำเข้าที่สำคัญ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น จีน เยอรมนี สิงคโปร์ สกุลเงิน ดอลลาร์ออสเตรเลีย 100 เซนต์ เท่ากับ 1 ดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์ออสเตรเลีย : 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ
ประเทศนิวซีแลนด์
(New Zealand)
1. ข้อมูลทั่วไป พื้นที่ 268,680 ตารางกิโลเมตร มี 2 เกาะหลักและเกาะเล็ก ๆ อีกมาก ภูมิอากาศ 4 ฤดูกาล คือ ฤดูใบไม้ร่วง ฤดูหนาว ฤดูใบไม้ผลิ และฤดูร้อน มีฝนตกตลอดปี เมืองหลวง เมือง Wellington (เวลลิงตัน) ประชากร 4.4 ล้านคน เชื้อชาติ อังกฤษ สกอตแลนด์ เผ่าเมารี ศาสนา ศาสนาคริสต์ ภาษา ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ
2. เครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจ (ปี 2553) ผลิตภัณฑ์มวลรวม 147,754 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว 33,580 เหรียญสหรัฐฯ อัตราการเติบโต
3.การค้าระหว่างประเทศ มูลค่าการส่งออก 21.9 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าส่งออกที่สำคัญ ผลิตภัณฑ์นมเนย เนื้อสัตว์ (วัว แกะ ปลา) ไม้ และเครื่องจักร แหล่งส่งออกที่สำคัญ ออสเตรเลีย สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และจีน มูลค่าการนำเข้า 24.7 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้านำเข้าที่สำคัญ ยานยนต์ เครื่องจักรกล เชื้อเพลิง เครื่องใช้ไฟฟ้าและพลาสติก แหล่งนำเข้าที่สำคัญ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป สกุลเงิน ดอลลาร์นิวซีแลนด์ อัตราแลกเปลี่ยน 1.25 ดอลลาร์นิวซีแลนด์ = 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตารางที่ 2 ตารางเปรียบเทียบประชากร ผลิตภัณฑ์มวลรวม ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัวระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจาปัจจุบันและอนาคต กลุ่ม/ ประเทศ ประชากร ผลิตภัณฑ์มวลรวม ผลิตภัณฑ์มวลรวมต่อหัว ล้าน US$ US$ กลุ่ม ASEAN ( 10ประเทศ) 586,478,142 1,976,972,000,000 3,371 ASEAN + 3 - จีน 1,346,780,000 6,422,276,000,000 4,767 - ญี่ปุ่น 127,590,000 5,683,292,000,000 44,401 - เกาหลีใต้ 48,333,000 986,256,000,000 20,547 1,522,703,000 13,091,824,000,000 ASEAN + 6 - อินเดีย 1,200,190,000 1,598,394,000,000 1,313 - ออสเตรเลีย 22,674,000 1,297,831,000,000 56,427 - นิวซีแลนด์ 4,412,100 147,754,000,000 33,489 1,227,276,100 3,043,979,000,000 2,749,979,100 16,135,803,000,000 กลุ่ม GCC( 6 ประเทศ) 38,350,000 1,100,174,000,000 28,688 บาเรน คูเวต โอมาน กาตาร์ ซาอุดิอารเบีย สหรัฐเอมิเตอร์ กลุ่ม MERCOSUR (5ประเทศ) 273,773,574 2,715,712,000,000 9,919 อาเจนติน่า บราซิล อุรุกวัย ปารากวัย เวเนซูเอล่า กลุ่ม EU (27+3 ประเทศ) 5,000,000,000 16,106,896,000,000 32,214 ประเทศในยุโรป รัสเซีย 141,830,000, 1,678,107,000,000 11,832 สหรัฐอเมริกา 313,208,000 15,157,285,000,000 48,393 คานาดา 34,565,000 1,632,894,000,000 47,241 ตารางที่ 4 ตารางแสดงสินค้าออกและสินค้าเข้าของประเทศอาเซียน ประเทศ สินค้าส่งออก สินค้านำเข้า บรูไน ดารุสซาลาม น้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซธรรมชาติ เสื้อผ้า เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง อาหาร เคมีภัณฑ์ ราชอาณาจักรกัมพูชา เครื่องนุ่งห่ม ไม้ซุง ข้าว ยางพารา ปลา ใบยาสูบ รองเท้า ปิโตเลียม ยาสูบ ทองคำ วัสดุก่อสร้าง เครื่องจักร ยานพาหนะ เภสัชภัณฑ์ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย น้ำมัน ก๊าชธรรมชาติ เครื่องใช้ไฟฟ้า ไม้อัด เสื้อผ้าสำเร็จรูป ยางพารา เครื่องจักรและอุปกรณ์ เคมีภัณฑ์ น้ำมันและก๊าซ อาหาร สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เครื่องนุ่งห่ม ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ กาแฟ พลังงาน(ไฟฟ้า) ดีบุก เครื่องจักร ยานพาหนะ ปิโตเลียม อุปโภคบริโภค มาเลเซีย เครื่องจักร เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ ปิโตเลียม แก๊สธรรมชาติ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ น้ำมันปาล์ม ยางพารา สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตเลียม เหล็ก เหล็กกล้า พลาสติก เคมีภัณฑ์ ยานพาหนะ สหภาพพม่า ก๊าซธรรมชาติ ไม้ผลิตภัณฑ์ไม้ สินค้าประมง ข้าว ผ้า ปิโตเลียม ปุ๋ย พลาสติก เครื่องจักร อุปกรณ์ขนส่ง สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล เสื้อผ้าสำเร็จรูป ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักรกล น้ำมันเชื้อเพลิง ยานพาหนะ พลาสติก สาธารณรัฐสิงคโปร์ เครื่องจักรกล เครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า เครื่องจักรกล ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้า น้ำมันดิบ เคมีภัณฑ์ เสื้อผ้า ราชอาณาจักรไทย เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ส่วนประกอบยานยนต์ น้ำมันสำเร็จรูป อัญมณีเครื่องประดับ ยางพารา น้ำมันดิบ เครื่องจักร เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ เหล็ก,เหล็กกล้า แผงวงจรไฟฟ้า สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ประมง ข้าว กาแฟ ยางพารา ชา เสื้อผ้าสำเร็จรูป รองเท้า เครื่องจักร ผลิตภัณฑ์ปิโตเลียม ปุ๋ย ปูนซีเมนต์ ยานพาหนะ ฝ้าย เมล็ดธัญพืช

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น